คำถาม เงินประกันชีวิตของผู้ตายเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้ตายหรือไม่
คำตอบเคยมีคำพิพากษาฎีหาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๓๙/๒๕๕๘ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๐ ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน การที่ผู้ตายถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ ๒ สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๐๑ สิทธิที่จะได้รับเงินประกันชีวิตจำนวน ๑,๓๐๐,๗๕๘.๗๖ บาท นั้น เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต และเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกซึ่งได้รับมาหลังจากผู้ตายถึงแก่กรรมไปแล้ว จึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ ๒ ประกอบกับตามตารางกรมธรรม์ ต่างมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนหรือแก่ผู้ใด จึงไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้โดยตรงและต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔ วรรคสองมาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา ๘๙๗ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่า เมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดยมิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้ จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นท่านให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกัน ซึ่งเจ้าหนี้จะเอาใช้ได้” ดังนั้น เงินประกันชีวิตดังกล่าวจึงต้องแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายในฐานะสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๙ (๑), ๑๖๓๐ วรรคสอง และ ๑๖๓๕ (๑) โดยโจทก์ที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตายกับจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายต่างได้รับส่วนแบ่งคนละส่วนเท่า ๆกันเท่ากับโจทก์ที่ ๑ จำเลยที่ ๑ และเด็กชายศราวุฒิ โคตรสาขา ซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร
มีปัญหาคกีความปรึกษาทีมทนายกฤษดา
0999170039