Home คดีแพ่ง ประมาทเลินเล่อ Vs เหตุสุดวิสัย

ประมาทเลินเล่อ Vs เหตุสุดวิสัย

21850

หลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่า คำว่าประมาทเลินเล่อกับ เหตุสุดวิสัยนั้น มีความหมายต่างกันอย่างไร ดังนี้ ทีมงานปรึกษาทนายความ จะขออนุญาตพาทุกท่านไปรู้จักสองคำดังกล่าวและความรับผิดของการทำละเมิด

ประมาทเลินเล่อ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีบทบัญญัติให้ความหมายของคำนี้เอาไว้ แต่ในมาตรา ๕๙ วรรคสี่ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติเอาไว้ว่า การกระทำประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นั้นแต่หาได้ใช้ไม่ และจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งปละพาณิชย์มาตรา ๔๒๐ วรรค หนึ่ง จะโดยรวมความหมายของคำว่า

ประมาทเลินเล่อ น่าจะมีความหมายว่า การกระทำที่มิใช่จงใจ โดยเป็นการกระทำที่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวสัยและพฤติการณ์ ซึ่งผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้

เหตุสุดวิสัย

เหตุสุดวิสัย มีความหมายว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญไม่มีบุคคลใดคาดหมายหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันไม่มีบุคคลใดป้อกันหรือลีกเหลี่ยงได้

มาตรา 8 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น

จึงทำให้บุคคลที่ประสบเหตุสุดวิสัยย่อมไม่มีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา แม้จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น

สรุปคือ คำว่าประมาทเลินเล่อกับเหตุสุดวิสัยนั้นมีความหมายไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วความเสียหายเกิดขึ้นแก่บุคคลใดก็ตาม บุคคลนั้นไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลอื่นได้ แต่ถ้าเป็นประมาทเลินเล่อหรือกระทำละเมิกในความหมายใหญ๋ ย่อมเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำได้ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายต่างประมาทไม่หยิ่งหย่อนกว่ากัน

กรณีใดบ้างละเป็นเหตุสุดวิสัย ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถยนตกระชั้นชิดถือเป็นความประมาทของผู้ตายเอง ฎีกาที่ ๒๐๑๕/๒๕๒๐ ,ขับรถหลบรถที่ล้ำสวนทางมา จึงชนรถที่จอดข้างทาง ฎีกาที่ ๓๒๖ / ๒๕๒๒ เป็นต้น

กรณีใดบ้างไม่เป็นเหตุสุดวิสัย เบรคแตก ล้อหลุด ไทม่รักษาซ่อมแซมรถให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัย ฎีกาที่ ๒๓๓๑/๒๕๒๐ เป็นต้น

มีปัญหาปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773

 

Facebook Comments