” หลักเกณฑ์การได้ภาระจำยอมมาโดยอายุความ ” ?
ภาระจำยอมเป็นสิทธิที่มีเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องรับกรรมบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์
ประเภทของภาระจำยอม
๑. ภาระจำยอมโดยนิติกรรม
๒.ภาระจำยอมโดยอายุความ
๓.ภาระจำยอมโดยผลของกฎหมาย
ภาระจำยอมสามมารถใช้บังคับกับอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดหรือไม่
เห็นว่า ภาระจำยอมสามารถใช้บังคับกับอสังหาริมทรัพย์ได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินมือเปล่า ที่ดินมีโฉนด
ข้อสังเกต
ภาระจำยอมต่างกับการครอบครองปรปักษ์ จะมีได้ เฉพาะกรณีที่ดินมีโฉนด เท่านั้น (ฎ.๑๕๖๘/๒๕๐๕ )
สำหรับภาระจำยอมโดยอายุความ
ประมวลกฎหมายกฎหมายแพ่งพานิชย์ มาตรา ๑๔๐๑ ให้นำมาตรา ๑๓๘๒ มาใช้บังคับ โดยอลุโลม กล่าวคือ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่นต้องใช้ประโยชน์ใน ภารยทรัพย์ โดยสงบ เปิดเผย และเจตนาจะได้ซึ่งภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี
๑.โดยสงบ หมายถึง การใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยไม่ได้ถูกจำกัดออกไป ไม่ถูกขัดขวาง หรือ ไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีการฟ้องร้อง หรือไม่ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์ของตน ย่อมไม่ถือเป็นการใช้โดยสงบ ( ฎ.๒๖๐๗/๒๕๕๔ )
๒.โดยเปิดเผย หมายถึง ไม่มีการปิดบังอำพราง (ฎ.๕๒๓๘/๒๕๔๖ )
๓.เจตนาจะได้ซึ่งภาระจำยอม หมายถึง ต้องเป็นการใช้ภารยทรัพย์ ในลักษณะปฎิปักย์ต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (ฎ.๔๑๗/๒๕๕๓ , ๓๒๖๘/๒๕๕๓ )
-การใช้ทางพิพาทในลักษณะเครือญาติหรือการอยู่ร่วมกันในชนบทหรือการได้ใช้โดยวิสาสะไม่ถือเป็นการใช้ในลักษณะเป็นปรปักย์ แม้จะได้ครอบครองจนครอบ ๑๐ ปี (ฎ.๓๘๘๓/๒๕๕๔ ) แต่กรณีใช้ในลักษณะเป็นทางจำเป็นมาก่อน ถ้าจะให้ได้ภาระจำยอม ต้องเปลี่ยนเจตนา ( ฎ.๓๐๕๙/๒๕๔๕ )
๔.ติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี
หลักเกณฑ์การนับระยะเวลา การนับระยะเวลาผู้รับโอนสามารถนับระยะเวลาการใช้ต่อจากเจ้าของคนก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา ๑๓๘๕ (ฎ.๑๐๓๑/๒๕๕๔ , ๑๐๘๒/๒๕๒๖ )
ข้อสังเกต เปรียบเทียบกับภาระจำยอมโดยนิติกรรม
๑.ภาระยอมโดยอายุความ แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็สามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เพราะเหตุว่าเป็นสิทธิคนละประเภท (ฎ.๖๔๕๙/๒๕๕๑ , ๕๙๒๗/ ๒๕๕๒ )
๒.ภาระจำยอมโดนิติกรรม ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๑๒๙๙ วรรค ๑ กล่าวคือ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะบริบูรณ์ในฐานะทรัพยสิทธิ มิฉะนั้นจะไม่สามารถยกขึ้นต่อสู้กับบุคคลภายนอกได้ (ฎ.๖๖๕๓/๒๕๔๒ )
แต่อย่างไรก็ดี การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สามารถกลายเป็นภาระจำยอมโดยอายุความได้ หากเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ทั้ง ๔ ข้อ ดังได้กล่าวไว้แล้วในข้างต้น ( ฎ.๑๓๖๖๓-๑๓๖๖๔/๒๕๕๓ , ๔๙๙๑/๒๕๕๑ )
นายเกรียงศักดิ์ นวลศรี
น.บ น.บ.ท วิชาชีพว่าความ ที่ปรึกษากฎหมาย และผู้เขียนคอลัมน์กฎหมายง่ายนิดเดียว ในนิตยสารพิษณุโลกธุรกิจ