ตกม้าตายกันมานักต่อนักแล้ว สำหรับเรื่องเล็กน้อยเรื่องนี้ บางท่านอาจจะมองว่าเป็นสิ่งไม่จำเป็นแต่หลายๆท่านก็ยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วหากจะฟ้องคดีอาญาต่อศาลใครบ้างมีสิทธิลงชื่อในคำฟ้องอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๕๘ บัญญัติว่าฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี
(๑) ชื่อศาลและวันเดือนปี
(๒) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด
(๓) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ
(๔) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย
(๕) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง
(๖) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
(๗) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง
ประเด็นคำถามและประเด็นที่เป็นปัญหาใครบ้างมีสิทธิลงลายมือชื่อในคำฟ้องอาญา ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาต อธิบายดังนี้ ผู้มีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องอาญาคือ
๑.พนักงานอัยการ กรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง
๒.ผู้เสียหายในกรณีผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง
๓.ผู้รับมอบอำนาจของผู้เสียหาย (คำพิาพากษาฎีกาที่ ๘๙๐/๒๕๐๒ และ ๕๐๒/๒๕๒๓)
๔.กรณีพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ ต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อสองคน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๕๐/๒๕๒๒)
๕.ทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นโจทก์ในคดีอาญา