Home คดีอาญา เล่นแชร์อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย

เล่นแชร์อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย

16399

เรื่องเล่นแชร์หลายคนไม่ทราบว่าจริงแล้วสามารถเล่นได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการเล่นแชร์ตามกฎหมายถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เกิดจากการตกลงระหว่างผู้เล่น หากทำหรือปฏิบัติตาม พรบ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 แล้ว ตามกฎหมายนั้นถือว่ามีผลผูกพันและบังคับได้  (ฎ.7285/2541 และ ที่ 60/2543)

 

ซึ่งหลายคนไม่ทราบส่วนสาระสำคัญที่ทำให้การเล่นแชร์นั้นถูกกฎหมายหรือสามารถบังคับได้นั้นมี อย่างไรบ้างวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตนำท่านไปรู้จักเกี่ยวกับสาระสำคัญที่ควรปฎิบัตตามโดยเคร่งครัดมีอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

1.ห้ามมิให้นายวงแชร์หรือเท้าแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์เกินกว่า 3วง หมายความว่าจะเป็นหัวหน้าแชร์ขณะเดียวกันเกิน 3 วงไม่ได้

2.จำนวนผู้เล่นแชร์วงเดียวหรือรวมกัน 3วงนั้นรวมกันต้องไม่เกิน 30 คน

3.เงินกองทุนกลางต่อหนึ่ง งวดรวมกัน 3 วง ต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือไม่เกิน 3 แสน

ซึงผลของการที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดสาระสำคัญดังกล่าวนั้นมีผลเช่นไร ?

การเล่นแชร์ดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผลแห่งการเป็นโมฆะนั้น นายวงแชร์หรือเท้าจะฟ้องเรียกลูกแชร์เพื่อชำระค่าแชร์ที่ยังไม่ชำระไม่ได้

และนอกจากนี้มีผลทำให้ลูกแชร์ที่ออกเช็คชำระค่าแชร์เป็นการออกเช็คที่บังคับชำระตามกฎหมายไม่ได้

คำถามหากผู้ที่ค้างชำระทำสัญญาเงินกู้หรือสัญญารับสภาพหนี้เอาไว้สามารถฟ้องได้หรือไม่

ฟ้องได้ถ้าการเล่นแชร์หรือสัญญานั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย

และหากผู้ที่ค้างชำระสั่งจ่ายเป็นเช็คสามารถฟ้องได้เป็นคดีอาญาตามพรบ.การใช้เช็คได้หรือไม่ ถ้าการเล่นแชร์นั้นสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อพรบ.การเล่นแชร์นั้น สามารถฟ้องเป็นคดีอาญาตามพรบ.เช็คได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ Lawyers.in.th

Facebook Comments