Home คดีอาญา อะไรบ้างที่ศาลใช้พิจารณาการประกันตัว (ปล่อยตัวชั่วคราว)

อะไรบ้างที่ศาลใช้พิจารณาการประกันตัว (ปล่อยตัวชั่วคราว)

32211

หลักเกณฑ์อะไรบ้างที่ศาลใช้พิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราว หรือ ที่ชาวบ้านรู้จักกันว่าการประกันตัว หลายท่านยังไม่รู้ หลายท่านเคยปฏิบัติมาแต่ไม่ทราบว่าสาระหรือเนื้อหาจริงๆแล้วศาลใช้อะไรพิจารณา นอกจากวงเงินประกันหรือหลักทรัพย์ที่ต้องมีแล้ว (วงเงินประกันศาลอาญา อับเดตล่าสุด) อะไรบ้างที่ศาลใช้ในการพิจารณา ทางทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตนำทุกท่านไปทราบด้วยกัน

เกี่ยวกับหลักเกณฑ์นั้น

แต่เดิมประธานศาลฎีกาได้ออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการและคำแนะนำเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 ถึง 119 ทวิ ไว้หลายฉบับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง 2544 จึงรวบรวมหลักเกณฑ์เพื่อให้อยู่ในระเบียบเดี่ยวกัน โดยออกเป็น ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการปล่อยตัวชั่วคราว พ.ศ.2548 ซึ่งมีหลักเกณฑ์และวิธีพิจาณาคำสั่ง ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้

คำร้องขอปล่อยชั่วคราวนั้นควรมีอะไรบ้าง

ในการร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวหรือประกันตัวนั้น ผู้ต้องหาหรือจําเลยควรเสนอข้อมูลหรือข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสาเหตุและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง รวมทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัยสภาพทางร่างกายและจิตใจ การศึกษา การประกอบอาชีพ การงาน ประวัติการกระทําความผิดอาญา สภาพและฐานะของครอบครัว และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม

หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการปล่อยชั่วคราว(ประกันตัว)

1.เมื่อศาลได้รับคำร้องขอปล่อยชั่วคราวแล้วให้พิจารณาหรือสั่งโดยเร็ว โดยถือหลักว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อย เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ก็ให้ระบุไว้ชัดแจ้ง

การเปลี่ยนแปลงคำสั่งทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็น และให้ระบุเหตุผลไว้โดยชัดแจ้ง

จำนวนหรือหลักประกันต้องเขียนหรือระบุให้ชัดเจน

2.เพื่อความรวดเร็วผู้ต้องหาอจยื่นหลักประกันมาพร้อมคำร้องเลยก็ได้ แต่ระเบียบไม่ตัดสิทธิผู้ต้องหาที่ยื่นมาโดยไม่มีหลักประกัน ที่จะพิจารณาคำร้อง

กรณีศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกไม่เกิน 3 ปี

3.ในคดีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกิน ๓ ปี เมื่อจําเลย ยื่นคําร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา หากจําเลยเคยได้ รับการปล่อยชั่วคราว ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์มาก่อน ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ ปล่อยชั่วคราวโดยไม่จําต้องส่งให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง

ใช้หลักประกันในชั้นสอบสวน หรือ ชั้นพนักงานอัยการ หรือ สถานพินิจได้หรือไม่

ใช้ได้ แต่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ 6 ของระเบียบ กล่าวคือ

(๑)ให้ ผู้ร้องขอประกันระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน ซึ่งรวมทั้งมูลค่าหรือราคาของ หลักประกันดังกล่าวและวงเงินที่ได้ประกัน พร้อมทั้งแนบสําเนาภาพถ่ายหลักทรัพย์มากับคําร้องขอ ถ้าหลักทรัพย์นั้นเป็นที่ดินหรือห้องชุด ให้แนบสําเนาหนังสือสําคัญแสดงสิทธิในหลักทรัพย์และ หนังสือรับรองราคาประเมินของสํานักงานที่ดินมาด้วย

(๒) ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยกําหนดวงเงินประกันไม่เกินมูลค่าหรือ ราคาของหลักประกัน และปรากฏตามคําแถลงของผู้อํานวยการสถานพินิจหรือพนักงานสอบสวน หรือ คําฟองหรือคําแถลงของพนักงานอัยการว่าหลักประกันดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของตน หรือ มีหลักฐานอื่นที่น่าเชื่อถือว่าหลักประกันดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของผู้อํานวยการสถานพินิจ พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ให้ศาลมีคําสั่งให้ ถือเอาหลักประกันนั้นเป็นหลักประกันในชั้นศาลได้แต่ถ้าศาลกําหนดวงเงินประกันไว้สูงกว่ามูลค่าหรือราคาของหลักประกันนั้น ก็ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ ผู้ร้องขอประกันวางหลักประกันอื่นเพิ่มเติมให้ เพียงพอกับวงเงินที่ประกันนั้น

 

ถ้าศาลชั้นต้นตัดสินเกิน 3 ปี ต้องส่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง

ตามระเบียบข้อ 7 เพื่อความรวดเร็วและให้ จําเลยได้ รับความคุ้มครองในสิทธิที่จะได้ รับการปล่อยชั่วคราว ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๐๖ และมาตรา ๑๑๙ ทวิ ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์และ ชั้นฎีกาโดยทางโทรสารหรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ศาลสามารถกำหนดเงื่อนไขอะไรได้บ้างเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว

ตามระเบียบข้อ 8 ศาลจะกําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ต้องหา หรือจําเลย หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือเพื่อป้องกัน ภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวก็ได้ เช่น ให้ รายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน หรือบุคคลตามที่ศาลเห็นสมควร วางข้อจํากัดเกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัยหรือการเดินทางออกไปนอก สถานที่อยู่อาศัยวางข้อจํากัดเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือการงานบางอย่าง หรือวางข้อจํากัด เกี่ยวกับการเข้าไปในสถานที่บางแห่งที่อาจก่อให้ เกิดการกระทําความผิดอีก

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

089142773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments