Home คดีแพ่ง เหตุใดบ้างที่ศาลจะสั่งถอนอำนาจปกครองบุตร

เหตุใดบ้างที่ศาลจะสั่งถอนอำนาจปกครองบุตร

23139

โดยหลักการแล้วการอุปการะเลี้ยงดูบุตรและการใช้อำนาจปกครองบุตรเป็นเรื่องภายในครอบครัว (family Privacy) แต่หากมีการขัดแย้งประพฤติผิดศีลธรรมหรือเป็นอันตรายต่อความผาสุกและประโยชน์ของบุตรที่กฎหมายจะให้ความคุ้มครองนั้น ซึ่งตามปกติเป็นหน้าที่ของบิดามารดาที่ต้องใช้ความอดทนอดกลั้น หากมีเหตุการณ์หรือพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมในการจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง กฎหมายได้บัญญัติวิธีการแก้ไขอำนาจปกครองไว้อย่างไรบ้าง ในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา จะขอนำท่านไปให้ความรู้และวิธีการแก้ไข

เหตุในการถอนอำนาจปกครองมีกรณีใดบ้าง

หลักกฎหมาย 

มาตรา ๑๕๘๒ ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งของศาลก็ดี ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ในกรณีเหล่านี้ศาลจะสั่งเอง หรือจะสั่งเมื่อญาติของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้

วรรค ๒ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองล้มละลายก็ดี หรือจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยก็ดี ศาลจะสั่งตามวิธีในวรรคหนึ่งให้ถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินเสียก็ได้

ซึ่งเหตุในการถอนอำนาจปกครองจะมีอยู่ด้วยกัน ๕ กรณี

๑.บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

๒.บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุตร

ตัวอย่างเช่น เฆี่ยนตีบุตร ยุยงให้บุตรลักโขมย ไม่เลี้ยงดู ลงโทษบุตรโดยการมัดบุตรไว้กับท่อน้ำ หรือปล่อยปละละเลยให้บุตรประพฤติชั่ว

๓.บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติชั่วร้าย

ตัวอย่างเช่น กระทำทางเพศต่อบุตร บังคับให้บุตรเป็นโสเภณี หรือ ขอทาน

๔.บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองล้มละลาย

๔.บิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัย

ผลของการถูกถอนอำนาจปกครอง

มาตรา ๑๕๘๔ การที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย

มาตรา ๑๕๘๔/๑ บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม

หมายความว่าแม้จะโดนถอนอำนาจปกครองแล้วแต่ก็ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมาย และสามารถติดต่อกับบุตรได้ตามควรแก่พฤติการณ์

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 0999170039 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments