เป็นธรรมดาในช่วงแห่งการขัดแย้งของคู่สมรส การจัดการสินสมรสย่อมเป็นถูกกระทำไปโดยฝ่ายหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอม แล้วคู่สมรสอีกผ่ายหนึ่งจะมีวิธีการหรือมีทางแก้อย่างไรบ้าง ในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตนำท่านผู้อ่านไปได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการและวิธีฟ้องกัน
ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการกรณีคู่สมรสจัดการทรัพย์สินไม่ชอบ
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ,1480
ถ้าคู่สมรสจัดการสินสมรสตามนิติกรรมที่ระบุไว้ในมาตรา 1476 (นิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอม) ไปเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้รับความยินยอม คู่สมรสอีกฝ่ายสามารถฟ้องเพิกถอนได้ ซึ่งนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสมีอะไรบ้างตามมาตรา 1576 ระบุไว้ทั้งหมด 8 กรณี
1 ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
2 ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
3 ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
4 ให้กู้ยืมเงิน
5 ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
6 ประนีประนอมยอมความ
7 มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
8 นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
ซึ่งหากเข้า 8 กรณีนี้คู่สมรสที่ไม่ได้ให้ความยินยอมนั้นสามารถฟ้องเพิกถอนได้
กำหนดเวลาในการฟ้อง
ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือภายใน 10 ปี นับตั้งแต่ทำนิติกรรม (มาตรา 1480 วรรค 2)
สาระสำคัญในการฟ้อง
ถ้าคู่สมรสจัดการสินสมรสฝ่าฝืนบทบัญญัติตาม 1476 แล้ว ต้องฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมตาม 1480 จะฟ้องติดตามเอาทรัพย์คืนตามมาตรา 1336 โดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้ และต้องใช้อายุความตาม (มาตรา 1480 วรรค 2)
การฟ้องขอเพิกถินนั้นต้องเพิกถอนนิติกรรมทัั้งหมกจะเพิกถอนบางส่วนไม่ได้
สิทธิในการฟ้องเพิกถอนนี้ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว หากผู้มีสิทธิฟ้องถึงแก่ความตายย่อมตกทอดไปยังทายาท
ข้อยกเว้นที่จะฟ้องไม่ได้มี 2 กรณี
1.คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว
2.ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่า ตอบแทน
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th