สามีไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูฟ้องคดีได้
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th
รวมบทความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงดูบุตร
3.หลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ที่ศาลใช้พิพากษาในการฟ้องกันในคดี
4.วิธีการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดู บุตรหรือคู่สมรสทำได้หรือไม่
หลายคนอาจไม่ทราบว่าการฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการฟ้องร้องและการพิจารณาคดีไว้เป็นพิเศษซึ่งค่อนข้างแตกต่างกับคดีแพ่งทัวไป ซึ่งมีสาระสำคัญพิเศษแค่ไหน ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตนำท่านไปให้ความรู้ด้วยกัน ดังนี้
1.การฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม (มาตรา 155)
2.คำฟ้องจะทำเป็นหนังสือหรือโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลก็ได้ และโจทก์อาจมอบอำนาจให้บุคคลหรือองค์กรใดดำเนินคดีแทนก็ได้ (มาตรา 157)
3.คู่ความจะขอให้ศาลตั้งทนายความให้ตนโดยให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จ่ายค่าป่วยการทนายก็ก็ได้ (มาตรา 158)
4.ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ศาลต้องให้มีการไก่ลเกลี่ยกันก่อน โดยศาลต้องตั้งผู้ประนีประนอมให้คู่ความตกลงข้อพิพาท ถ้าไก่ลเกลี่ยสำเร็จ ผู้ประนีประนอมต้องจัดทำสัญญาประนีประนอมแล้วให้ศาลตรวจดูว่าไม่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ขัดต่อความสงบแล้วศาลจะพิพากษาตามยอมไป แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ดำเนินการพิจารณาคดีกันต่อไป (มาตรา 150)
5.การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจะฟ้องรวมมากับการฟ้องชายให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ เพราะการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจะมีผลตามมาหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตร
6.ระหว่างพิจารณาคดีคู่ความมีสิทธิร้องขอให้กำหนดมาตราการคุ้มครองชั่วคราวได้ โดยสามารถให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งออกค่าเลี้ยงดูระหว่างคดีให้แก่ตนได้
7.เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลอาจสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากาษนำเงินมาวางศาลตามเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่ศาลกำหนดได้ หากลูกหนี้มีรายได้ประจำศาลอาจสั่งให้อายัดตามจำนวนที่ไดจะชำระให้เท่ากับค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
8.หากศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแล้วจำเลยไม่ยอมชำระ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้ชำระค่าเลี้ยงดูได้
หลักเกณฑ์ที่ศาลใช้พิจารณาผู้ฟ้องคดีต้องนำสืบถึงอะไรบ้างที่เป็นประเด็นสำคัญ
ความหมายของค่าอุปการะและค่าเลี้ยงดู?
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ไม่มีนิยามศัพท์เฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงอาจพอสรุปได้ว่า “ค่า
อุปการะเลี้ยงดู” หรือเรียกทั่วไปว่า “ค่าเลี้ยงดู” คือ เงินที่จ่ายเป็นครั้งคราวเพื่ออุปการะกันระหว่างบุคคลที่เกี่ยว
พันกันในทางครอบครัวและตามกฎหมาย ได้แก่ สามีภริยา บิดามารดา และบุตร มีอยู่ 2 ประเภท คือ ค่าอุปการะ
เลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา และค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างบิดามารดากับบุตร
จะเรียกได้เมื่อใด และศาลใช้อะไรกำหนด?
ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยาหรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควร
ได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่พียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะ
เลี้ยงดูนี้ ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและ
พฤติการณ์แห่งกรณี ตามมาตรา 1598/38
ขอแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูได้หรือไม่ ?
เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่อง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับได้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ ตามมาตรา 1598/39 วรรค
หนึ่ง
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th