Home คดีแพ่ง เหตุสู้คดีละเมิดกรณีใดบ้างแม้ทำละเมิด แต่ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

เหตุสู้คดีละเมิดกรณีใดบ้างแม้ทำละเมิด แต่ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

13910

หลายคนเข้าใจมาเสมอว่าเมื่อถูกกระทำละเมิดแล้ว ต้องได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน  แล้วมีกรณีใดบ้างที่ทำละเมิด แล้วไม่ต้องรับผิด ซึ่งกฎหมายกำหนดเหตุนิรโทษกรรมของการทำละเมิดเอาไว้ ซึ่งมีเหตุใด และมีหลักการอย่างไรไปดูกัน

หลักการและความหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามบทบัญญัติในมาตรา 449ถึง 452 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และหลักกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนิรโทษกรรมของการทำละเมิดเอาไว้ ซึ่งการจะเกิดนิรโทษกรรมได้นั้นการกระทำต้องเป็นการละเมิดก่อน ซึ่งถ้าไม่เป็นละเมิดก็ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

ความหมายของนิรโทษกรรม

นิรโทษกรรม คือ การกระทำที่เป็นละเมิดแต่กฎหมายบัญญัติยกเว้นให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด คือไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย หรือ รับผิดโดยจำกัดหรืิอให้ชดใช้น้อยกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีทั้งส้ิน 5 เหตุคือ

1.การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2529

การที่เจ้าของที่ดินยอมให้โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ทางพิพาทสัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปีเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ จำเลยปิดกั้น โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกไม่ได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ย่อมได้รับความเสียหาย
เมื่อจำเลยที่ 6 ทำรั้วปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ใช้ทางพิพาทเข้าออกบ้านของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ใช้ทางพิพาทเข้าออกบ้านของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 รื้อรั้วที่จำเลยที่ 6 ปิดกั้นออก เพื่อจะได้ใช้ทางพิพาทต่อไป จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 6 โจทก์ที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน

2.การกระทำตามคำสั่ง

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการทำตามคำสั่งที่ไม่ต้องรับผิดคือ

-ผู้ทำตามคำสั่งเจ้าพนักงานอาจเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเป็นราษฎรก็ได้

-ผู้ออกคำสั่งต้องเป็นเจ้าหนัพงานเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนักงานผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่ก็ตาม

-เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงคำสั่งให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

-ผู้กระทำตามคำสั่งเชื่อโดยสุจริตว่าต้องปฏิบัติตาม

-และผู้กระทำนั้นต้องไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

3.การกระทำด้วยความจำเป็นเพื่อป้องกันภัย

มาตรา 450 ถ้าบุคคลทำบุบสลายหรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย
ถ้าบุคคลทำบุบสลายหรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายอันมีแก่เอกชนโดยฉุกเฉินผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้น
ถ้าบุคคลทำบุบสลายหรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะป้องกันสิทธิของตนหรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉินเพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุบุคคลเช่นว่านี้หาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ หากว่าความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุแต่ถ้าภยันตรายนั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจำต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้

หลักพิจารณา ทรัพย์ที่ถูกกระทำจะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงบุคคลผู้ต้องเสียหายจากการกระทำนั้น และต้องเป็นภยันตรายสาธารณะมิใช่ภยันตรายที่เกิดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด

4.การป้องกันสิทธิ์

มาตรา 451 บุคคลใช้กำลังเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้าตามพฤติการณ์จะขอให้ศาลหรือเจ้าหนี้ที่ช่วยเหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้และถ้ามิได้ทำในทันใดมีภัยอยู่ด้วยการที่ตนจะได้สมดั่งสิทธินั้นจะต้องประวิงไปมากหรือถึงแก่สาบสูญได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
การใช้กำลังดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าต้องจำกัดครัดเคร่งแต่เฉพาะที่จำเป็นเพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายเท่านั้น
ถ้าบุคคลผู้ใดกระทำการดั่งกล่าวมาในวรรคต้นเพราะหลงสันนิษฐานพลาดไปว่ามีเหตุอันจำเป็นที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลอื่นแม้ทั้งการที่หลงพลาดไปนั้นจะมิใช่เป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของตน

5.การป้องกันสัตว์

มาตรา 452 ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้นและยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้และถ้าเป็นการจำเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะทำได้
แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควร

มีปัญหาคดีความถูกฟ้องคดีปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

 

Facebook Comments