จากคดีแพ่งสู่คดีอาญา จากคดีกู้ยืมสู่คดีโกงเจ้าหนี้ มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากมาย เหตุเพราะโทสะและความเครียดแค้นที่ถูกลูกหนี้โกง เมื่อได้รับคำแนะนำจึงช่องทางที่ผิดๆด้วยหวังจะบีบให้ลูกหนี้ตาย การที่ตกเป็นหนี้ตามคำพิพากษาแล้วนั้น ถ้าไปโอนขายที่ดินหลังจากตกเป็นหนี้ตามคำพิพากษา เป็นการโกงเจ้่าหนี้หรือไม่ ในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา พาไปดูคำตอบกัน
เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวไว้ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2542
หลังจากจำเลยตกเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยไปทำสัญญาขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยให้แก่ พ. ในภายหลังอีก เนื่องจากจำเลยและสามีจำเลยถูกธนาคารฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชำระหนี้เงินกู้และธนาคารได้ขอบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยนำไปจำนองไว้เป็นประกันการกู้ยืมด้วยแม้ธนาคารจะฟ้องคดีหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วก็ตาม แต่หนี้ที่จำเลยมีอยู่ต่อธนาคารเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและเป็นหนี้ที่มิได้เกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยกับธนาคาร ดังนั้น การที่จำเลยตกลงยินยอมให้ พ. เป็นผู้ชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินต่อธนาคารแทนจำเลย และรับโอนที่ดินไปโดยมีข้อตกลงให้จำเลยซื้อที่ดินคืนกลับไปได้นั้นจึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องกระทำเพื่อมิให้ธนาคารผู้รับจำนองบังคับจำนองแก่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยโอนขายทรัพย์สินของตนไปโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
สรุปหาเป็นหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการสมยอมและเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนไม่ผิดฐานโกงเจ้าหนี้
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th