Home คดีแพ่ง ความหมายของเงินมัดจำตามสัญญา และอำนาจศาลในการปรับลดมัดจำ

ความหมายของเงินมัดจำตามสัญญา และอำนาจศาลในการปรับลดมัดจำ

19902

ประเด็นปัญหาในสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาจะซื้อจะขายของเหตุแห่งการผิดสัญญาและการริบมัดจำนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย ความหมายตามกฎหมายของเงินมัดจำนั้นมีลักษณะเช่นไร ศาลมีอำนาจปรับลดหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10316/2559

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 บัญญัติว่า “เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย” เช่นนี้

ย่อมแสดงว่า มัดจำคือทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้ในวันทำสัญญา เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาจะซื้อขายได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาโดยคู่สัญญามีเจตนาจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ ข้อ 4 ระบุว่า ถ้าผู้จะซื้อปฏิบัติผิดสัญญาไม่ไปรับโอน ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก ผู้จะขายไม่จำต้องบอกกล่าว และผู้จะซื้อยินยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำที่ชำระแล้วได้ทั้งหมด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยย่อมริบมัดจำทั้งหมดได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว โดยจำเลยไม่จำต้องนำสืบถึงความเสียหายที่ได้รับนั้น เพราะมัดจำมิใช่เบี้ยปรับ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ให้อำนาจศาลที่จะลดมัดจำดังเช่นเบี้ยปรับได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา 0891427773

Facebook Comments