Home คดีแพ่ง กลับหลักฎีกาใหม่และเรื่องควรรู้ เกี่ยวกับดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายกำหนดในสัญญาเงินกู้

กลับหลักฎีกาใหม่และเรื่องควรรู้ เกี่ยวกับดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายกำหนดในสัญญาเงินกู้

73066

คำว่า ดอกเบี้ย สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรม ๒ ฝ่าย เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาของคู่สัญญา ดังนั้น คู่สัญญาจะตกลงกันว่าจะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ ถ้าตกลงกันว่าจะคิดดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ตกลง และวิธีการคิดดอกเบี้ยต้องไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อตกลงนั้นจึงจะใช้บังคับได้ ผู้กู้มีหน้าที่เสียดอกเบี้ย

ซึ่งมีข้อควรรู้พิจารณาอยู่ ๒ประการ 

๑.อัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีบทบัญญัติที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งนำมาใช้ในเรื่องกู้ยืมได้ ๒ มาตรา กล่าวคือ มาตรา ๗ ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี  และมาตรา ๒๒๔นี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น

  • กรณีตกลงเรื่องดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดในสัญญา

กรณีจะใช้มาตรา ๗ คือกรณีที่ตกลงกันในสัญญาว่าการกู้ครั้งนั้นเสียดอกเบี้ย แต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ กฎหมายจึงบัญญัติตามมาตรา ๗ ให้ใช้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

  • กรณีตกลงว่าไม่เสียดอกเบี้ย และต่อมาผิดนัด

กรณีตกลงกันว่าไม่เสียดอกเบี้ย คือไม่เสียดอกเบี้ยต่อกันในสัญญา แต่หากมีการผิดนัดลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ตาม มาตรา ๒๒๔ ซึ่งจะผิดนัดเมื่อไหร่ถ้าไม่ปรากฎว่าเจ้าหนี้ทวงถามก็ให้ถือว่าผิดนัดเมื่อวันฟ้อง (ฎ๒๒๘๙/๒๕๕๐)

  • กรณีตกลงเสียอัตราดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด 

กรณีตกลงว่าให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายกำหนด ตามมาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี ผลของมาตรานี้คือคู่สัญญาคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ ๑๕ ถ้าคู่สัญญาตกลงไว้เกินให้ปรับลดมาเหลือร้อยละ ๑๕

แต่ต่อมาในภายหลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๕ มี พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. ๒๔๗๕ และพรบ.ดังกล่าวถูกยกเลิกโดย( พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. ๒๕๖๐) ตามมาตรา ๓ และบัญญัติเนื้อหาสาระขึ้นใหม่ในมาตรา ๔ ผลในทางกฎหมาย ทำให้ข้อตกลงเรื่องเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นความผิดอาญาจึงโมฆะไปทั้งหมดเฉพาะดอกเบี้ย ซึ่งหากเป็นกรณีอัตราดอกเบี้เกินอัตรากฎหมายกำหนดมีผลเช่นไร

๒.อัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

  • ดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด เป็นโมฆะทั้งหมดแต่ต้นเงินสมบูรณ์ ฟ้องเรียกต้นเงินคืนได้ฎ๑๓๖/๒๕๐๗
  • ผู้กู้คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าแล้วนำไปรวมกับสัญญาเงินกู้ ฎ๘๑๖/๑๕๑๘ โมฆะแยกส่วน ดอกเบี้ยเป็นหนี้ไม่สมบูรณ์เป็นโมฆะ แต่ต้นเงินสมบูรณ์

ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยคือกรณีผู้กู้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายกำหนดไปแล้วจะได้คืนหรือไม่

แต่เดิมแรวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาส่วนใหญ่จะถือเป็นเรื่องที่ชำระด้วยความสมัครใจโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระคืน ฎ๑๗๔๗/๒๕๒๒ ฎ ๓๘๖๔/๒๕๒๔ ซึ่งใช้หลักกฎหมายตาม มาตรา ๔๐๗  บุคคลใดได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่ ซึ่งมีผลให้ไม่สามารถเรียกคืนได้

แต่ต่อมาทีมงานทนายกฤษดาได้สืบค้นคำพิพากษาฎีกาที่ใช้ในการต่อสู้คดี พบว่ามีการวินิจฉัยในสาระสำคัญใหม่ของการการชำระดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายกำหนด ให้นำเงินที่ชำระมาชำระคืนต้นเงินทั้งหมด

โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 1.3 ต่อเดือน หรืออัตราร้อยละ 15.6 ต่อปี ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องชำระ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อดอกเบี้ยของโจทก์เป็นโมฆะ เท่ากับสัญญากู้ยืมมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด

บทสรุป

ซึ่งถือว่าศาลฎีกาวินิจฉัยในสาระสำคัญใหม่ของการการชำระดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายกำหนด โดยสรุปได้ว่า ดอกเบี้ยของโจทก์เป็นโมฆะ เท่ากับสัญญากู้ยืมมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด

เมื่อเป็นดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะแล้วมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สัญญากู้ที่ดอกเบี้ยเกินอัตรา เป็นโมฆะตั้งแต่วันกู้แต่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามมาตรา ๒๒๔

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments