Home คดีแพ่ง เหตุใดบ้างที่ผู้จัดการมรดกอาจถูกศาลสั่งถอน

เหตุใดบ้างที่ผู้จัดการมรดกอาจถูกศาลสั่งถอน

12344

ผู้จัดการมรดกอาจถูกศาลสั่งถอน ในกรณีดังต่อไปนี้

1.ผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ หรือ ถ้าทำบัญชีนั้นไม่เป็นที่น่าพอใจแก่ศาล เพราะความประมาทเลินเล่อร้ายแรงหรือทุจริตหรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1731

คำพิพากษาฎีกากรณีทำบัญชีทรัพย์ไม่ถูกต้องไม่เป็นเหตุถอน

คดีนี้ ศาลสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางช้อย ทิพาเสถียร ต่อมาผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรของนางช้อยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสีย โดยอ้างว่าผู้ร้องไม่ซื่อตรงต่อทายาท ยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดก ไม่แสวงหาทรัพย์มรดกและใช้จ่ายมรดกสิ้นเปลือง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า เพียงแต่ผู้ร้องไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลภายในกำหนดเท่านั้น ยังไม่เป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากผู้จัดการมรดก ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้คัดค้านฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า นายเขียวหวานผู้ร้องได้จัดการรวบรวมทรัพย์มรดกและเตรียมจะแบ่งให้ทายาท แต่ยังมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น มิใช่นายเขียวหวานเพิกเฉยไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่เสียเลย คดียังไม่มีพฤติการณ์ส่อแสดงว่านายเขียวหวานเลินเล่อหรือกระทำการทุจริตหรือไม่สามารถจัดการทรัพย์มรดกแต่อย่างใด บัญชีทรัพย์ที่นายเขียวหวาน ทำเสนอต่อศาลยังไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ ก็พอจะได้ทำเสียให้ถูกต้องได้ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุที่สมควรจะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควร ศาลก็สั่งถอนได้ หรือถ้าศาลเห็นว่ายังไม่มีเหตุสมควรศาลจะยังไม่สั่งถอนก็ได้พฤติการณ์เท่าที่ปรากฏยังไม่สมควรจะถอนนายเขียวหวานจากผู้จัดการมรดกนางช้อย

2.เมื่อผู้จัดการมรดกละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ หรือ มีเหตุอันควรแก่การจะถอดถอนอย่างอื่นใด ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอต่อศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้ ซึ่งเหตุไม่อันควรแล้วแต่กรณีไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2528

ในการร้องขอสั่งถอนผู้จัดการมรดก เมื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดก ยังมีปัญหาข้อแย้งกันอยู่ว่าจะแบ่งตามคำพิพากษาหรือตาม สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งทายาทบางคนลงชื่อ ทั้งการ แบ่งทั้ง 2 ประการก็ผูกพันเฉพาะทายาทบางคนที่เป็นคู่ความ ตามคำพิพากษาและทายาทที่ลงชื่อในสัญญาการจัดการมรดก จึงยังไม่เสร็จสิ้นผู้จัดการมรดกจะต้องรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปัน ให้แก่ทายาทซึ่งมิได้เป็นคู่ความตามคำพิพากษาและมิได้ลงชื่อเป็น คู่กรณีในสัญญาประนีประนอมยอมความการที่จะสั่งถอนผู้จัดการมรดก ในขณะนี้จึงไม่ชอบ

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments