Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ความรู้เกี่ยวกับสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก

ความรู้เกี่ยวกับสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก

16237

ความรู้เกี่ยวกับสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามมาตรา 374-376 
-สัญญายกทรัพย์ให้บุคคลภายนอกไม่อยู่ในบังคับมาตรา 525 จึงไม่ต้องจดทะเบียนก็สมบูรณ์ คู่สัญญาไม่จำต้องระบุตัวบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ว่าเป็นผู้ใดโดยเฉพาะเจาะจงในขณะทำสัญญา เช่น อาจตกลงว่าให้โอนที่ดินให้แก่บริษัทที่จะตั้งขึ้นในอนาคตได้
-เจ้าของที่ดินให้คู่สัญญาปลูกสร้างอาคารในที่ดิน โดยให้ฝ่ายที่ปลูกสร้างอาคารมีสิทธิเรียกเงินช่วยค่าก่อสร้างและมีสิทธิหาผู้เช่า ผู้เช่าเป็นบุคคลภายนอกที่ถือเอาประโยชน์ในสัญญาได้ แต่ถ้าสัญญาระบุว่าการโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าก่อน ไม่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เพราะเป็นอำนาจของผู้ให้เช่าว่าจะอนุญาตให้โอนสิทธิการเช่าหรือไม่
-สัญญาอาจกำหนดให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ตอบแทนได้โดยบุคคลภายนอกมีสิทธิเลือกว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาหรือไม่ เช่น ให้ไถ่ถอนทรัพย์ที่ติดจำนองหรือใช้ชำระเงินเพื่อเป็นค่าโอนที่ดิน
-สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกต้องกำหนดให้คู่สัญญามีหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ต่อบุคคลภายนอก แต่ถ้าเป็นเพียงข้อตกลงให้สิทธิแก่คู่สัญญาชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกหรือไม่ก็ได้ไม่ใช่สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เช่น สัญญาให้สิทธิผู้ว่าจ้างในการชำระค่าแรงให้ลูกจ้างของผู้รับจ้างเพื่อให้งานดำเนินต่อไปได้ ดังนี้ ลูกจ้างจะฟ้องผู้ว่าจ้างไม่ได้ ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
-สัญญาประกันภัยระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้รับประโยชน์ เมื่อยังไม่ได้แสดงเจตนารับประโยชน์ คู่สัญญาตกลงเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิจากสัญญาได้หรือผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้
-แนวฎีกาที่ถือว่าเป็นการเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว เช่น การเช่าทำสัญญาก่อสร้างตึกแถวหรือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระเงิน
-เมื่อบุคคลภายนอกสละสิทธิตามสัญญาแล้ว คู่สัญญาเดิมมีอำนาจฟ้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้แก่ตนได้ เช่น เมื่อรถหาย ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องผู้เช่าให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ถือว่าสละสิทธิจากสัญญาประกันภัยแล้ว หรือหย่ากันแล้วยกทรัพย์ให้บุตร แต่บุตรยังไม่เข้าถือเอาตามสัญญา คู่สัญญายังเป็นเจ้าของทรัพย์อยู่ เมื่อนำไปขายให้คนอื่น คู่สัญญาอีกฝ่ายย่อมฟ้องคดีได้
-เมื่อบุคคลภายนอกยังไม่แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา สิทธิของบุคคลภายนอกยังไม่เกิด จึงไม่อาจเป็นมรดกตกแก่ทายาทได้ แสดงว่าการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา เป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นมรดกตกทอด แต่ถ้าบุคคลภายนอกถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของบุคคลภายนอกไม่เป็นมรดกของคู่สัญญา (ผู้ที่ตกลงให้ประโยชน์แก่บุคคลภายนอก)
-เมื่อบุคคลภายนอกถือเอาประโยชน์แล้ว สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดขึ้นและฟ้องบังคับตามสัญญาด้วยตนเองได้ ใช้อายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 เช่น ฟ้องให้โอนที่ดินหรือจ่ายเงินประกันได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ตัดอำนาจคู่สัญญาเดิมในการฟ้องคดี คือ ทั้งคู่สัญญาเดิมและบุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องคดี เช่น ฟ้องขอให้จ่ายเงินประกันภัยหรือแบ่งทรัพย์สินได้
-การถือเอาประโยชน์ไม่มีแบบ อาจแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือปริยายก็ได้ เช่น เข้าใช้ทางหรือรับเอาทรัพย์หรือฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาหรือจ่ายเงินให้ผู้อื่นตามข้อตกลง
-สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกไม่ต้องทำเป็นหนังสือ ไม่เหมือนการโอนสิทธิเรียกร้อง
-เมื่อคู่สัญญาฟ้องให้ชำระหนี้ต่อบุคคลภายนอกแล้ว ปัญหาที่ว่าบุคคลภายนอกจะรับชำระหนี้หรือไม่ เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี ในการพิจารณาคดีของศาลตกลงยกทรัพย์ให้คนภายนอกได้ โดยคู่ความเดิมยังบังคับคดีได้อยู่ แต่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญายอมไม่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ปวิพ. มาตรา 271

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments