Home สาระน่ารู้ ทนายความ

ทนายความ

3201

อาชีพทนายความ มีหน้าที่ว่าความและให้คำปรึกษากฎหมายรวมทั้งจัดทำนิติกรรมสัญญา และดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ

ลักษณะและหน้าที่ของงานมีดังนี้
1. ปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายและดำเนินการ แทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่ง ตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ และค้นตัวบทกฎหมายที่จะนำมาใช้โดยการศึกษาประมวล กฎหมาย พระราชกฤษฎีกาเทศบัญญัติคำพิพากษาของศาลสูงที่มีมาแล้วและกฎข้อ-บังคับที่ตราขึ้นไว้ให้คำแนะนำ แก่ลูกความถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
2. ทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และค้นหา บรรพต่าง ๆ ในประมวลกฎหมาย
3. ว่าความและดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆในศาลแทนคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา
4. มีบทบาทในการสร้างและรักษาความเป็นธรรมให้กับสังคม
5. มีบทบาทในการคุ้มครอง ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบุคคล และองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ
6. มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินการต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย
7. มีบทบาทเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ด้วย
8. อาจเชี่ยวชาญในงานกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ
9. อาจเป็นทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กร บรรษัท ห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล คณะ บุคคล หรือเอกชน

โอกาสในการมีงานทำ
อาชีพทนายความ ถือเป็นอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่ง ซึ่งจะมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจและบุคคลเพราะอาชีพนี้ จะมีความชำนาญทางกฎหมาย ความต้องการของอาชีพนี้มีสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยดูได้จากคดีที่เกิดขึ้นที่กรมตำรวจ ล้วนแต่ต้องใช้ทนายความเข้ามาช่วยในคดีทั้งสิ้น ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทนายความมีคดีว่าความมากขึ้น เนื่องจากจะมีคดีฟ้องร้องในเรื่องการค้างชำระหนี้มากขึ้น แต่รายได้จากการว่าความจะไม่ค่อยมากนักเนื่องจาก ฝ่ายจำเลยไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจอย่างไร ความต้องการแรงงาน ในอาชีพมีอยู่ตลอด ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญ และชื่อเสียงของทนายความแต่ละคนด้วย นอกจากนี้ ทนายความอิสระบางคนอาจจะรับทำงานสืบสวนให้บุคคลที่ต้องการให้สืบสวน หรือติดตามสิ่งของหรือบุคคลที่ต้องการค้นหา
ความก้าวหน้าในการทำงาน
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือกหรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาซึ่งสภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความโดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร 6 เดือน และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6 เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ

อาชีพทนายความ ถือเป็นอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่งซึ่งจะมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจ และบุคคลเพราะอาชีพนี้จะมีความชำนาญทางกฎหมาย ความต้องการของอาชีพนี้มีสูงขึ้นเรื่อยๆโดยดูได้จากคดีที่เกิดขึ้นที่กรม ตำรวจ ล้วนแต่ต้องใช้ทนายความเข้ามาช่วยในคดีทั้งสิ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทนายความมีคดีว่าความมากขึ้นเนื่องจากจะมีคดีฟ้องร้องในเรื่องการค้างชำระ หนี้มากขึ้นแต่รายได้จากการว่าความจะไม่ค่อยมากนักเนื่องจากฝ่ายจำเลยไม่ สามารถชำระค่าเสียหายได้ จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจอย่างไร ความต้องการแรงงานในอาชีพมีอยู่ตลอด ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญความเก่งและชื่อเสียงของทนายความแต่ละคน ด้วย นอกจากนี้ทนายความอิสระบางคนอาจจะรับทำงานสืบสวนให้บุคคลที่ต้องการให้สืบ สวนหรือติดตามสิ่งของหรือบุคคลที่ต้องการค้นหา

อาชีพทนายความนี้ นอกจากจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วยังสามารถเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน เป็นพนักงานอัยการ และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาก็ได้ และนอกจากนี้อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีความชำนาญทางกฎหมายเป็นพิเศษ จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับอาชีพอื่นได้มากมาย เช่น นักการเมือง ทหารตำรวจ เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่การเงิน หรือครู อาจารย์เป็นต้น ทนายความที่มีความสามารถ และมีความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างดี อาจได้รับการว่าจ้างให้เป็นทนายความว่าความในต่างประเทศ หรืออาจเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาทางด้านกฎหมาย หรือสิทธิประโยชน์ของประเทศ

อัตราเงินเดือน
ผู้ที่เป็นทนายความสามารถทำงานมีเงินเดือนประจำ โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 19,000 – 25,000 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน หรือประกอบอาชีพทนายความอิสระรับว่าความทั่วไป โดยอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความ ร้อยละ 10 – 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้นๆ หรือตามแต่จะตกลงกับลูกความ ซึ่งอาจจะได้รับค่าว่าความ 20,000 – 100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับและขนาดของทุนทรัพย์ในแต่ละคดี

เงินเดือนเฉลี่ย
25,000.00

คณะ/สาขาที่ต้องเรียน
คณะนิติศาสตร์ วิชานิติศาสตร์
คณะศิลปฯและวิทยาการจัดการ วิชานิติศาสตร์
คณะสังคมฯ วิชานิติศาสตร์
คณะศิลปฯและวิทย์ฯ วิชานิติศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ วิชานิติศาสตร์
สำนักวิชานิติศาสตร์ วิชานิติศาสตร์
คณะมนุษย์ฯและสังคมฯหลักสูตร น.บ. วิชานิติศาสตร์
คณะมนุษย์ฯและสังคมฯ วิชานิติศาสตร์
วิทยาลัยกฏหมายและการปกครอง วิชานิติศาสตร์

คณะ/สาขา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
คณะนิติศาสตร์ สาขาLAW มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะนิติศาสตร์ สาขาLAW วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายการเงินและภาษีอากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยตาปี
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายระหว่างประเทศและการฑูต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายและการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายเศรษฐกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิติศาสตร์ สาขาการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยตาปี
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
คณะนิติศาสตร์ สาขาบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะนิติศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คณะนิติศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยตาปี
คณะนิติศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
คณะนิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยตาปี
คณะนิติศาสตร์ สาขาสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะบริหารธุรกิจ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คณะบัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะรัฐศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขายุทธศาสตร์และความมั่นคง มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศสระแก้ว
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะวิทยาการจัดการ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
คณะวิทยาการจัดการ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คณะสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
บัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
วิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วิทยาลัยนานาชาติ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักวิชากฎหมาย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สำนักวิชานิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments