Home สาระน่ารู้ ในคดีที่ราษฎรฟ้องเอง ศาลยกฟ้องโดยไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้องชอบหรือไม่

ในคดีที่ราษฎรฟ้องเอง ศาลยกฟ้องโดยไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้องชอบหรือไม่

11227

การฟ้องคดีอาญาของราษฎร ที่ใช้สิทธิการฟ้องคดีเองนั้นปัจจุบันมีการใช้สิทธิกันมาก แต่ก็มีไม่น้อยที่ศาลมีคำสั่งยกฟ้องชั้นตรวจคำฟ้อง โดยไม่ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องคำถามที่ขึ้นหัวข้อไว้ว่าหาก ศาลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้ไต่สวนนั้น เป็นการชอบหรือไม่อย่างไร และ หากศาลอุทธรณ์พิพากษายืน สามารถฎีกาได้หรือไม่ ทีมงานทนายกฤษดา ขอเชิญท่านไปวิเคราะห์ด้วยกันดังนี้

คําถาม คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้มีการ ไต่สวนมูลฟ้องก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๒ (๑) เป็นการชอบหรือไม่

คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๔๔/๒๕๖๑

โจทก์ทั้งสิบห้าฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยกฟ้อง โจทก์ทั้งสิบห้าโดยมิได้มีการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๑๖๒ (๑) และยังไม่ได้ประทับรับฟ้องไว้พิจารณาก่อน เป็นการข้าม ขั้นตอนกระบวนพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบนั้น

เห็นว่า การที่ศาลรับฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องนั้น ไม่จําเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวน มูลฟ้องหรือต้องวินิจฉัยว่าฟ้องมีมูลและประทับรับฟ้องไว้พิจารณาก่อนเสมอไป หากศาล เห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความ แล้วก็ดี หรือมีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อย จําเลยไป ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ ดังนี้ เมื่อ ศาลเห็นว่าการกระทําทั้งหลายของจําเลยทั้งห้าตามฟ้องพ้นจากความผิดและความรับผิด โดยสิ้นเชิง ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้เลย โดยไม่จําต้องไต่สวนมูลฟ้องและประทับรับฟ้อง

คําถาม ข้อหาความผิดที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง ศาล อุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาได้หรือไม่

คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๕๔๔/๒๕๖๐

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ศาล อุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาแก้ให้ประทับฟ้องจําเลยที่ ๔ เฉพาะข้อหาหมิ่นประมาท ตามฟ้องข้อ ๔ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น เท่ากับว่าคดีโจทก์ใน ส่วนของจําเลยที่ 4 อีก ๔ ข้อหาตามฟ้องข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ และฟ้องโจทก์สําหรับจําเลย ที่ ๑ ถึงที่ ๓ และที่ ๕ ถึงที่ ๑๑ นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ ได้พิพากษายืนให้ ยกฟ้องโจทก์ ดังนั้นข้อหาทั้ง 6 ข้อหาดังกล่าวในส่วนของจําเลยที่ ๔ และคดีสําหรับ จําเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ และที่ ๕ ถึงที่ ๑๑ ทุกข้อหาจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่า จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๒๒๐

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

089-1427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments