Home คดีอาญา ออกเช็คเพื่อชําระ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดเกิน อัตราที่กฎหมายกําหนด มีความผิดทางอาญาหรือไม่

ออกเช็คเพื่อชําระ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดเกิน อัตราที่กฎหมายกําหนด มีความผิดทางอาญาหรือไม่

11929

ทางทีมงานเคยเขียนอธิบายเดี่ยวกับ การต่อสู้คดีเช็คเด้ง ว่าควรทำอย่างไรไปแล้วในบทความก่อน (หากยังไม่ได้อ่านคลิก) ในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตอธิบายเจาะรายละเอียดในส่วนของปัญหามากมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่มีว่าปัจจุบันนายทุนเงินกู้ หรือท้าวแชร์ มักจะให้ผู้กู้ หรือลูกแชร์ ตีเช็คค้ำประกันเงินกู้นั้น หากปัญหาในข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าการออกเช็คดังกล่าวมีขึ้นเพื่อชำระดอกเบี้ยในอัตรที่เกินหว่ากฎหมายกำหนดแล้ว ผู้สั่งจ่ายมีความผิดทางอาญาหรือไม่

คำถาม ออกเช็คเพื่อชําระ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดเกิน อัตราที่กฎหมายกําหนด มีความผิดทางอาญาหรือไม่

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 ถึง 655 บัญญัติเป็นใจความ สําคัญว่าการกู้ยืมเงินห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี และห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้นหรือ เรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย (ยกเว้นกรณีผู้ให้กู้เป็นสถาบันการเงินหรือธนาคารตามพระราชบัญญัติ ธนาคารพาณิชย์)

หากมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าวก็เป็นความผิดทางอาญาตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ผลคือค่าดอกเบี้ยทั้งหมด ตกเป็นโมฆะเจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้นเช็คที่ลูกหนี้หรือจําเลย สั่งจ่ายหรือออกเพื่อชําระดอกเบี้ยดังกล่าวก็ถือว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพราะเป็นหนี้ที่บังคับกัน ไม่ได้แล้ว จําเลยผู้ออกเช็คจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการ ใช้เช็ค (คําพิพากษาฎีกาที่ 634/2518, 1291/2505, 496/2537)

หากเป็นกรณีที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วยนั้น

กรณีดังกล่าวถือว่าจําเลย ออกเช็คเพื่อชําระมูลหนี้ที่ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย แม้โจทก์จะรับโอนเช็คฉบับนั้นมาจากผู้ทรง คนแรกโดยมีมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยสุจริตคือไม่ทราบว่าจําเลยออกเช็คชําระหนี้ ผิดกฎหมาย จําเลยก็ไม่มีความผิดทางอาญา (คําพิพากษาฎีกาที่ 8731/2544)

หากเป็นกรณีชำระต้นเงินรวมดอกเบี้ย

หรือกรณี จําเลยออกเช็คเพื่อชําระหนี้เงินต้นรวมดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกําหนดไว้อยู่ด้วย ถือว่ามูลหนี้เป็นดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จําเลยผู้ออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา (คําพิพากษา ฎีกาที่ 5043/2531) แต่ในกรณีดังกล่าวโจทก์หรือผู้ให้กู้ยังมีสิทธิเรียกร้องให้จําเลยหรือลูกหนี้ ผู้กู้ชดใช้เงินเงินกู้ส่วนที่เป็นเงินต้นทั้งหมดได้ เพราะหนี้เงินต้นไม่เป็นโมฆะ ดังนั้น เช็คที่จําเลย ออกเพื่อชําระหนี้เงินต้นอย่างเดียวโดยไม่มีส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเกินอัตรารวมอยู่ด้วย จึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริงและใช้บังคับกันได้ หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จําเลย มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค (คําพิพากษาฎีกาที่ 7909/2543) ดังนั้นหากจําเลยออกเช็ค 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเพื่อชําระเงินต้น อีกฉบับหนึ่งชําระดอกกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกําหนด เช็คฉบับแรกที่ชําระเงินต้นก็มีผลใช้บังคับ หากธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงิน จําเลยมีความผิดทางอาญา ส่วนเช็คฉบับที่ 2 นั้น แม้ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน จําเลยก็ไม่มีความผิดทางอาญา

มีปัญหาคดีความ ปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments