คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๙๔/๒๕๕๙ ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมให้จําเลย ชําระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจําเลยไม่ชําระหนี้ตาม คําพิพากษา โจทก์จึงนําเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ ๗๔๕๔ พร้อมสิ่ง ปลูกสร้างของจําเลยเพื่อบังคับชําระหนี้ตามคําพิพากษา ก่อนมีการขายทอดตลาดทรัพย์ ดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาของศาลแพ่ง ยื่นคําร้องขอเฉลี่ยเงินที่ได้จาก การขายทอดตลาดทรัพย์ของจําเลยในคดีนี้ แต่จําเลยยื่นคําคัดค้านว่า คดีของศาลแพ่ง ดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดเพราะจําเลยยังอุทธรณ์คําพิพากษาอยู่ และมีโอกาสชนะคดี ระหว่างที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ในคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์มี คําพิพากษายืน คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคําร้อง ขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้หรือไม่ โดยจําเลยฎีกาว่า แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา แต่คําพิพากษานั้นยังไม่ถึงที่สุด ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษา จําเลยยังคงยื่นฎีกา และยื่นคําร้องขอทุเลาการบังคับต่อศาลฎีกา ซึ่งจําเลยมีโอกาสชนะคดี ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ ยื่นคําร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๐ นั้น
เห็นว่า บทกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงการใช้สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะยื่นคําขอ เฉลี่ยทรัพย์ได้ไว้แต่เพียงว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา และให้ยื่นคําขอก่อนสิ้น ระยะเวลาสิบสี่วัน นับแต่วันขายทอดตลาดหรือจําหน่ายทรัพย์สิน หาได้กําหนดว่าจะต้อง เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเมื่อคดีถึงที่สุด หรือศาลต้องออกหมายบังคับคดีก่อนไม่ ดังนั้น จึงไม่จําเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อน เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเพื่อที่จะยังให้ได้รับความ รับรอง คุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรานี้ได้ ทั้งกรณี ไม่จําต้องออกหมายบังคับคดีก่อน
สรุป สามารถทำได้ไม่จำเป็นต้องเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุด
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th