การยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ศาลชั้นต้นต้องทําการไต่สวน ก่อนหรือไม่ และอุทธรณ์ฎีกาได้หรือไม่
คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๔๕๓/๒๕๕๙ การที่ศาลชั้นต้นจําเป็นต้องไต่สวนคําร้อง ขอเพิกถอนหมายจับของผู้ร้องก่อนหรือไม่ เป็นดุลพินิจในการดําเนินกระบวนพิจารณา ตามอํานาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จไปโดยรวดเร็วและชอบด้วย กฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคําร้องของผู้ร้องสามารถวินิจฉัยได้แล้ว ศาลชั้นต้นก็มีอํานาจที่จะมีคําสั่งได้ทันทีโดยไม่จําต้องไต่สวนก่อนโดยอาศัยอํานาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๑ (๔) ประกอบประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕
เมื่อมีการกล่าวหาว่าบุคคลใดกระทําความผิดทางอาญา บุคคลนั้นย่อมตกอยู่ ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๒) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจย่อมยื่นคําร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๖๖ เพื่อให้ได้ตัวมาสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๔ ซึ่งตามพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม มาตรา ๒๔ (๑) กําหนดให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอํานาจออกหมายจับ ได้ ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสี่ ตอนท้าย กําหนดให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายจับได้หากความปรากฏต่อศาล ในภายหลังว่าได้มีการออกหมายจับไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา ๖๘ กําหนดให้หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้น ขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน ดังนี้ อํานาจในการออกหมายจับ ผู้ต้องหาจึงเป็นอํานาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น เมื่อคดีนี้ผู้ร้องยื่นคําร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายจับ และศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง ผู้ร้องจะอุทธรณ์หรือ ฎีกาอีกไม่ได้
สรุป ยื่นคำร้องได้ แต่อนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษา ตามพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม มาตรา ๒๔ (๑) ประกอบวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕๙ วรรคสี่ ตอนท้าย
อุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th