Home คดีแพ่ง สําเนาหนังสือมอบอํานาจเอกสารท้ายฟ้องมิได้ประทับตราสําคัญของบริษัท ถือเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

สําเนาหนังสือมอบอํานาจเอกสารท้ายฟ้องมิได้ประทับตราสําคัญของบริษัท ถือเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

12025

คำถาม

สําเนาหนังสือมอบอํานาจเอกสารท้ายฟ้องมิได้ประทับตราสําคัญของบริษัท ถือเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๗๔๖/๒๕๕๔

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยว่า โจทก์มีอํานาจฟ้องหรือไม่ โดยจําเลยฎีกาว่า ว. ลงลายมือชื่อโดยมิได้ประทับตราสําคัญของโจทก์มอบอํานาจให้ ป. เป็นผู้ดําเนินคดีแทน ตาม สําเนาหนังสือมอบอํานาจท้ายฟ้องหมายเลข ๒ การมอบอํานาจจึงไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ โจทก์ขอแก้ฟ้องขอส่งต้นฉบับที่ถูกต้อง ไม่ใช่การแก้ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเพราะทําให้ โจทก์กลับกลายเป็นมีอํานาจฟ้องเป็นเหตุให้จําเลยเสียเปรียบในรูปคดี เห็นว่า สําเนาหนังสือ มอบอํานาจโจทก์เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคําฟ้อง มิได้ประทับตราสําคัญของโจทก์ ซึ่งไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์ แสดงว่าการมอบอํานาจให้ฟ้องคดี แทนโจทก์ไม่สมบูรณ์ แต่โจทก์ได้กล่าวอ้างมาในคําร้องขอแก้ฟ้องว่า เอกสารหนังสือมอบอํานาจ ท้ายฟ้องหมายเลข ๒ มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยเนื่องจากนําไปถ่ายสําเนาก่อนนําไปประทับตราสําคัญ หนังสือมอบอํานาจมีการประทับตราสําคัญของโจทก์แล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลชั้นต้นมีอํานาจอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องในส่วนการมอบอํานาจที่ไม่สมบูรณ์ได้ โจทก์มี อํานาจฟ้อง

แต่เคยมีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้อีกแนวหนึ่งดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๙๘/๒๕๕๑

การที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอํานาจตามที่บรรยายในคําฟ้องจากชื่อ “นายธีรพงษ์” เป็น “นายธีระพงษ์” เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอํานาจให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยซึ่งสามารถกระทําได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จําเลยมี โอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสําเนาคําร้องให้จําเลยทราบล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา ๑๗ ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา ๒๑ (๒) และมาตรา ๑๘๑ (๑) ส่วนกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อ “นายธีระพงษ์” ตามที่ปรากฏในหนังสือมอบอํานาจเป็น “นายธีระพงษ์” นั้นหนังสือมอบอํานาจดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทําขึ้นเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการยื่นคําฟ้อง มิใช่คําฟ้องที่โจทก์จะขอแก้ไขได้ อัลกากรทพิกจก เอ้กะ การที่โจทก์นําสืบว่าหนังสือมอบอํานาจพิมพ์ชื่อผิดโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น “ช” กลับพิมพ์เป็น “ธ” มิใช่การนําสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนําสืบอธิบายความเป็นมา ของหนังสือมอบอํานาจเพื่อยืนยันคําฟ้องที่แก้ไขแล้ว

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments