Home คดีอาญา ข้อควรระวังในการยื่นคำร้องขอชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา ๔๔/๑

ข้อควรระวังในการยื่นคำร้องขอชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา ๔๔/๑

9699

ในหลายครั้งที่การยื่นคำร้องตามมาตรา ๔๔/๑ ในเรื่องของการขาดไร้อุปการะนั้นมีความผิดพลาดจากการที่ผู้ยื่น ที่ยื่นเองบ้าง ยื่นแทนบุตรผู้ตายบ้าง ความผิดอาญาที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตาย บิดามารดาของผู้ตายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ค่าขาดำร้อุปการะ) แทนบุตรผู้ตายในในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์หรือไม่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658/2560

สิทธิในการได้รับค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายกับเด็กหญิง ธ. และเด็กชาย อ. บุตรทั้งสองของผู้ตายจะเรียกจากผู้ทำละเมิดเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน โจทก์ร่วมเป็นย่ามิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนเฉพาะคดีของบุตรทั้งสองของผู้ตาย อันจะถือได้ว่ามีสิทธิยื่นคำร้องในนามบุตรของผู้ตายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งมารดาของบุตรทั้งสองของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายได้ คงมีสิทธิเฉพาะในส่วนของตนเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของโจทก์ร่วมในส่วนที่โจทก์ร่วมขอให้จำเลยทั้งสามชำระค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายด้วย จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

{ต้องเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมเท่านั้น หรือ ผู้แทนเฉพาะคดี}

คําพิพากษาฎีกาที่ 356/2559

คําร้องขอให้บังคับจําเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมซึ่งถือ ว่าเป็นคําฟ้องตาม ป.วิ.พ. บรรยายว่า ก่อนตายผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับ ส. ซึ่งเลิกร้าง กันก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือเด็กขาย น. อายุ 9 ปี และเด็กชาย ก. อายุ 5 ปี ก่อนตายผู้ตายมีหน้าที่ในฐานะบิดาเลี้ยงดูตลอดจนส่งเสียให้การศึกษาแก่บุตร ทั้งสอง การร่วมกันทําละเมิดของจําเลยทั้งหกเป็นเหตุให้บุตรทั้งสองของผู้ตายต้องขาดได้ อุปการะ ทําให้โจทก์ร่วมต้องรับภาระหน้าที่เลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสองแทนผู้ตายต่อไป โจทก์ร่วม ขอคิดค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงินจํานวน 500,000 บาท ดังนี้ พอเข้าใจได้ว่า เด็กชาย น. และเด็กชาย ก. บุตรผู้ตายประสงค์จะขอเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะ ด้วย แต่เด็กชายทั้งสองเป็นผู้เยาว์ไม่อาจยื่นคําร้องขอให้บังคับจําเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนด้วยตนเองได้ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ยื่นคําร้องแทน เมื่อ โจทก์ร่วมเป็นเพียงบิดาของผู้ตาย ไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะแทนเด็กชายทั้งสองบุตรผู้ตายได้

สรุป 

{ต้องเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมเท่านั้น หรือ ผู้แทนเฉพาะคดี} ในกรณีที่บุตรบรรลุนิติภาวะแล้วต้องยื่นเอง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments