Home คดีอาญา สรุปหลักการแก้ไข พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๓๓) พ.ศ. ๒๕๖๒มีอะไรอับเดตบ้าง

สรุปหลักการแก้ไข พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๓๓) พ.ศ. ๒๕๖๒มีอะไรอับเดตบ้าง

19886

 

สรุปหลักการแก้ไข พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๓๓) พ.ศ. ๒๕๖๒มีอะไรอับเดตบ้าง

ใช้เมื่อใด

1.พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป (ประกาศใช้วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562) มีผลใช้บังคับแล้ว {สรุปโดย ทีมงานทนายกฤษดา}

ฉบับ เต็ม Download

แก้อะไรบ้าง

 

2.ตามมาตรา มาตรา ๑๖๕/๑ ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
ในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ในการไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา ๑๖๕ ถ้าจำเลยมาศาลเมื่อใด และจำเลย
ไม่มีทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้  

       2.1.1คดีอะไรบ้างที่มีโทษประหารชีวิต

       ประมวลกฎหมายอาญา

  • ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร มาตรา 107,108
  • ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร มาตรา 122,124
  • ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ มาตรา 132
  • ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1
  • ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง มาตรา 148
  • ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม มาตรา 201, 202{สรุปโดย ทีมงานทนายกฤษดา}
  • ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน มาตรา218, 224
  • ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา227ทวิ 227ตรี
  • ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง มาตรา331
  • ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาตรา 340 340ทวิ

        พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 (แก้ไขล่าสุด พ.ศ.2560)

  • มาตรา 65 ,93

2.2ตามมาตรา ๑๖๕/๑ วรรค ๒ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ในการไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา ๑๖๕ ถ้าจำเลยมาศาลเมื่อใดให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

  • หมายความว่า  ในทุกคดีที่มีโทษจำคุก ถ้าจำเลยมาศาลให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ศาลแต่งตั้งให้

เพิ่มอะไรบ้าง

3.ตามมาตรา ๑๖๕/๒ ในการไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือ
ข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่
จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยด้วยก็ได้{สรุปโดย ทีมงานทนายกฤษดา} กรณีเช่นว่านี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสารหรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่จำเป็นและสมควร โดยโจทก์
และจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล” 

  • หมายความว่า จำเลยแถลงต่อศาลด้วยวาจาหรือทำคำแถลงเป็นเอกสารได้ และจะระบุถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่สนับสนุนได้และศาลอาจเรียกพยานบุคคล เอกสาร หรือวัตถุมาประกอบการวินิจฉัยคดีมีมูลได้ และโจทก์หรือจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับอนุญาต

รายละเอียดที่ต้องมีในคำสั่ง

4.ตามมาตรา  ๑๖๗ คำสั่งของศาลที่ว่าคดีมีมูลให้แสดงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายพร้อมเหตุผลประกอบ
ตามสมควรด้วย”

  • หมายความว่า คำสั่งประทับฟ้อง หรือ คดีมีมูล จะต้องแสดงข้อเท็จจจริงหรือข้อกฎหมายพร้อมเหตุผลประกอบตามสมควรด้วย

5.ตามมาตรา ๑๗๒

(๔)จำเลยไม่อาจมาฟังการพิจารณาและสืบพยานได้เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็น
อย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อจำเลยมีทนายความและจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟัง
การพิจารณาและสืบพยาน
(๕) ในระหว่างการพิจารณาและสืบพยาน{สรุปโดย ทีมงานทนายกฤษดา} ศาลมีคำสั่งให้จำเลยออกจากห้องพิจารณาเพราะ
เหตุขัดขวางการพิจารณา หรือจำเลยออกจากห้องพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล

  • หมายความว่า แต่เดิม การพิจารณาคดีอาญาต้องพิจารณาต่อหน้าจำเลย เพิ่มสิทธิของจำเลยในกรณีเจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็น เมื่อจำเลยมีทนายและได้รับอนุญาต ไม่มาฟังการพิจารณาและสืบพยานได้ถ้าได้รับอนุญาตจากศาล

การออกหมายจับและการพิจารณาพิพากษาลับหลังจำเลย

6.ตามมาตรา ๑๗๒ ทวิ/๑ ภายหลังที่ศาลได้ดำเนินการตามมาตรา ๑๗๒ วรรคสอง แล้วเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยหลบหนีหรือไม่มาฟังการพิจารณาและสืบพยานโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ศาลออกหมายจับจำเลย หากไม่ได้ตัวจำเลยมาภายในสามเดือนนับแต่วันออกหมายจับ เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะให้การพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า และจำเลยมีทนายความ ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ และเมื่อศาลพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ให้ศาลมีคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไป

การพิจารณาและสืบพยานตามวรรคหนึ่งต้องมิใช่คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล 

  • หมายความว่า  ตามปกติคดีค้างพิจารณาที่ศาลจำนวนมากเพราะจำเลยหลบหนี เมื่อออกหมายจับจำเลยแล้วหากจับตัวไม่ได้ภายใน3เดือนนับแต่วันที่ออกหมายจับ และจำเลยมีทนายแล้วศาลอาจจะพิจารณาลับหลังจำเลยได้ เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาให้ศาลพิพากษาต่อไป

7.ตามมาตรา ๑๗๒ ทวิ/๒ ในคดีที่จำเลยเป็นนิติบุคคล ภายหลังที่ศาลได้ดำเนินการตามมาตรา ๑๗๒
วรรคสอง แล้ว เมื่อมีกรณีที่ศาลได้ออกหมายจับผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นแล้ว แต่ยังจับตัว
มาไม่ได้ภายในสามเดือนนับแต่วันออกหมายจับ {สรุปโดย ทีมงานทนายกฤษดา} และไม่มีผู้แทนอื่นของนิติบุคคลมาดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นได้ เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะให้การพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ และเมื่อศาลพิจารณาคดีเสร็จแล้วให้ศาลมีคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไป

8.มาตรา ๒๕๗ ในคดีซึ่งราษฎรเป็นโจทก์ โจทก์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งสำเนาคำฟ้อง
และหมายเรียกให้แก่จำเลยโดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องมีจำนวนไม่สูงเกินสมควร”

ใช้กับคดีที่ศาลสั่งมีมูลแล้วหรือไม่

9.ตามมาตรา๘ บทบัญญัติมาตรา ๑๖๕/๑ มาตรา ๑๖๕/๒ และมาตรา ๑๖๗ แห่งประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่คดีมีมูลที่ศาล
ได้ประทับฟ้องไว้ตามมาตรา ๑๖๗ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

  • หมายความว่า วิธีการไต่สวนตาม มาตรา ๑๖๕/๑ มาตรา ๑๖๕/๒ และมาตรา ๑๖๗ไม่ใช้บังคับแก่คดีมีมูลที่ศาลได้ประทับฟ้องไว้ตามมาตรา ๑๖๗ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments