Home คดีอาญา (ฎีกากลับหลัก)ทนายความต้องรู้!!ใบแต่งทนายความ ไม่ได้รับมอบให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา มีสิทธิขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และลงชื่อท้ายอุทธรณ์หรือไม่

(ฎีกากลับหลัก)ทนายความต้องรู้!!ใบแต่งทนายความ ไม่ได้รับมอบให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา มีสิทธิขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และลงชื่อท้ายอุทธรณ์หรือไม่

13408

(ฎีกากลับหลัก)ทนายความต้องรู้!!ใบแต่งทนายความ ไม่ได้รับมอบให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา มีสิทธิขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และลงชื่อท้ายอุทธรณ์หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๕๖/๒๕๖๐

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลากลางวัน จําเลยเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) อันเป็นการพนันตามบัญชี ประเภท ข. หมายเลข ๑๖ โดยถือเอาเลขท้าย ๒ ตัว ของเลขหลัง จุดทศนิยมของดัชนีราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่ง ปิดตลาดประจําวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕๕๔๙ เป็นเลขถูกรางวัลพนัน เอาทรัพย์สินกัน โดยจําเลยเป็นเจ้ามือจัดให้มีการเล่นพนันโดยไม่ได้รับ อนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. ๒๔๗๘ มาตรา ๔, ๕, ๖, ๑๐, ๑๒, ๑๕ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ ริบ ของกลาง และจ่ายเงินสินบนนําจับตามกฎหมาย จําเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ การพนัน พ.ศ. ๒๔๗๔ มาตรา ๔, ๑๒ (๑) จําคุก ๔ เดือน จําเลยให้การ รับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจําคุก ๒ เดือน ริบ ของกลาง คําขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จําเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายกอุทธรณ์

จําเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลย ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจําเลยและพิพากษา ยกอุทธรณ์ของจําเลยมานั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า แม้จําเลยจะตั้งนายสุริยา  เป็นทนายความของจําเลยภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษา คดีแล้วก็ตาม แต่นายสุริยาจะใช้สิทธิในการอุทธรณ์คดีนี้แทนจําเลย ก็ต้องได้รับมอบอํานาจจากจําเลยโดยชัดแจ้งให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย ตามใบแต่งทนายความลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ที่จําเลยตั้งนายสุริยาเป็นทนายความระบุให้นายสุริยา มีอํานาจยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การ ประนีประนอมยอมความและขอให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งเป็นการดําเนิน กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ได้ระบุให้มีอํานาจใช้สิทธิใน การอุทธรณ์ ดังนี้นายสุริยาจึงไม่มีอํานาจที่จะดําเนินกระบวนพิจารณา ใช้สิทธิในการอุทธรณ์คดีนี้แทนจําเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา ๖๒ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๑๕ คําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่นายสุริยา ลงลายมือชื่อเป็นผู้ร้องโดยไม่มีอํานาจจึงเป็นคําร้องที่ไม่ชอบ ที่ศาล ชั้นต้นจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ทั้งอุทธรณ์ของ จําเลยที่นายสุริยาลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยไม่มีอํานาจ จึงเป็นคําฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๔ (๗) ประกอบมาตรา ๒๑๕ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ ไม่รับ วินิจฉัยอุทธรณ์ของจําเลยและพิพากษายกอุทธรณ์ของจําเลยมานั้น ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจําเลยฟังไม่ขึ้น”

หมายเหตุ :

  1. ปัญหาเรื่องอํานาจทนายความตามคําพิพากษาฎีกานี้ จําเลยตั้ง ส. เป็นทนายความของตนภายหลังจากศาลชั้นต้นมี คําพิพากษาแล้ว แสดงว่าจําเลยประสงค์ตั้ง ส. เป็นทนายความ ดําเนินกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์แทนจําเลยมิใช่เป็นเรื่องส. กระทําการไปโดยพลการ การที่ใบแต่งทนายความมิได้ระบุให้ ส. ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ก็น่าจะเกิดจากผิดหลงหรือหลงลืม ทั้งเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ ซึ่งเป็นเรื่องข้อบกพร่อง ที่ศาลชอบที่จะให้มีการแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ และ ไม่แตกต่างกับกรณีที่ทนายความดําเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโดยตัวความมิได้ระบุในใบแต่งทนายความให้ ทนายความนั้นมีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณาแทนในชั้น อุทธรณ์หรือฎีกา แนวคําพิพากษาศาลฎีกาในระยะหลัง ๆ ให้ มีการแก้ไขในเรื่องใบแต่งทนายความตามมาตรา ๖๒ ได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๔๔๔/๒๕๕๕ และ ๓๕๐/๒๕๕๔)คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๔๔๔/๒๕๕๕ จําเลยแต่งตั้ง บ. เป็นทนายความดําเนินคดีแทนจําเลยเฉพาะในศาลชั้นต้น เท่านั้น การที่ บ. ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียง และผู้พิมพ์ เป็นเรื่องฟ้องอุทธรณ์ของจําเลยไม่ชอบตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๔ (๗) ประกอบมาตรา ๒๑๕ ถือเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลชั้นต้น รับฟ้องอุทธรณ์ทั้งที่เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่อยู่ในวิสัยที่จะสั่งให้แก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้ จึง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ ชอบที่จะเพิกถอนการรับฟ้องอุทธรณ์ ของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดําเนินการพิจารณาใหม่ หรือดําเนินการเสียเองให้จําเลยแก้ไขให้ถูกต้องก่อนก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๕ ไม่ชอบที่จะด่วนพิพากษายกคําสั่งศาลชั้นต้นที่รับฟ้องอุทธรณ์และยกอุทธรณ์ของจําเลย เมื่อในชั้นฎีกาจําเลยยื่นใบแต่งทนายความแต่งตั้ง บ. ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาได้แล้ว จึงไม่จําต้องดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีก ศาลฎีกาให้ ย้อนสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิจารณาพิพากษาใหม่ ต่อไปตามรูปคดีได้เช่นเดียวกับในคดีแพ่ง คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๐/๒๕๕๘ วินิจฉัยว่า พ. ทนายโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ว่าความมาตั้งแต่ ศาลชั้นต้น แต่ในใบแต่งทนายความมิได้ระบุให้ทนายโจทก์ มีอํานาจอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้ ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ที่ ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๒๔๖ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะต้องแก้ไขความบกพร่องเสียก่อน แม้ฟ้องอุทธรณ์ของจําเลยที่ ๑ จะยื่นโดยชอบแล้วก็ตาม การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยที่ ๑ ไป พร้อมกันและมีคําพิพากษาโดยยังมิได้แก้ไขข้อบกพร่อง ดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา ๒๔๓ (๒) เป็นการไม่ชอบ และเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอํานาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบ มาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ (เดิม) และไม่จําต้องวินิจฉัย ฎีกาของโจทก์ต่อไป

    คําพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้กลับไปเดินตามคําพิพากษา ฎีกาเดิม เช่น คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๑/๒๕๒๔, ๒๓๘๑/๒๕๒๕, ๒๖๘๔/๒๕๓๖, ๕๕๕๘/๒๕๔๒ และ ๙๖๐๙/๒๕๕๓

สรุปยาว

จําเลยตั้ง ส. เป็นทนายความของจําเลยภายหลังจากศาลชั้น ต้นพิพากษาคดีแล้ว แต่ ส. จะใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนจําเลยก็ต้อง ได้รับมอบอํานาจจากจําเลยโดยชัดแจ้งให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ คําพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย ตามใบแต่งทนายความที่จําเลยตั้ง ส. เป็น ทนายความระบุให้ ส. มีอํานาจยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ และขอให้พิจารณา คดีใหม่ซึ่งเป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ไม่ได้ระบุให้มี อํานาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์ส. จึงไม่มีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณา ใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนจําเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา ๖๒ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๑๕ ดังนั้น คําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ ส. ลงลายมือชื่อเป็นผู้ร้องโดยไม่มีอํานาจเป็นคําร้องที่ไม่ชอบ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ทั้ง อุทธรณ์ของจําเลยที่ ส. ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ เป็นคําฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา ๑๕๕๘ (๗) ประกอบมาตรา ๒๑

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments