คําถาม คดีความผิดต่อส่วนตัวที่มีผู้เสียหายหลายคน หากผู้เสียหายคนหนึ่งถอน คําร้องทุกข์ก็ดี หรือมิได้ฟ้องหรือร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือน นับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัว ผู้กระทําความผิด ทําให้คดีขาดอายุความก็ดี จะมีผลต่อผู้เสียหายคนอื่นด้วยหรือไม่
มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คําพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๓๒/๒๕๕๖
จําเลยกับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของธนาคาร ธ. ผู้เสียหายที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ให้ เช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองของ ส. ผู้เสียหายที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เมื่อขณะเกิดเหตุ กระทําความผิดผู้เสียหายที่ ๒ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อ การกระทําของ จําเลยกับพวกย่อมทําให้ผู้เสียหายที่ ๒ ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ ๒ ไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบอํานาจจากผู้เสียหายที่ ๑ แต่ก็ถือว่าได้ร้องทุกข์ใน ฐานะที่ผู้เสียหายที่ ๒ เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เสียหายที่ ๒ จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ และมีอํานาจในการถอนคําร้องทุกข์ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามเป็นความผิดต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายขอถอนคําร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อก่อนศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับฎีกา ผู้เสียหายที่ ๒ ถอนคําร้องทุกข์ สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๓๙ (๒)
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th