คําถาม ความผิดตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ เอกชนเป็นผู้เสียหายในการกระทําความผิดข้อหาดังกล่าวหรือไม่
มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๐๖/๒๕๖๐
บทบัญญัติตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ หรือ มาตรา ๕ เป็นบทบัญญัติที่วางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ความผิดฐานนี้ จึงเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่จะดําเนินคดีแก่ผู้กระทําความผิด เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในการกระทํา ความผิดข้อหาดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในความผิด ข้อหานี้ได้ และเมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์มาตั้งแต่แรก โจทก์ร่วมย่อมไม่มี สิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่จําต้องพิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมในปัญหาว่าจําเลยกระทํา ความผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องอีก
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกงเท่านั้น มิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ด้วย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้องโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์เฉพาะในความผิดที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๑ ที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายมีอัตราโทษจําคุกอย่างสูง ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๓ ทวิ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม มาตรา ๑๙๓ ตรี แม้ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ มาตรา ๕, ๑๒ จะมีอัตราโทษที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นการกระทํา อันเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๑ ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้เป็น ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด โจทก์ร่วมจึงไม่อาจใช้สิทธิ อุทธรณ์โดยอ้างทํานองว่าเมื่อโทษตามบทหนักไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ความผิดฐานในบทเบาย่อมอุทธรณ์ได้ด้วยหาได้ไม่
สรุป รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายไม่สามารถขอเป็นโจทก์ร่วมได้
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th