Home คดีแพ่ง การอุทธรณ์คดีผู้บริโภค ผู้บริโภคต้องเสียค่าธรรมเนียมใช้แทนหรือไม่

การอุทธรณ์คดีผู้บริโภค ผู้บริโภคต้องเสียค่าธรรมเนียมใช้แทนหรือไม่

16408
  • การอุทธรณ์ในคดีผู้บริโภค

ในคดีผู้บริโภคนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาแล้วคู่ความสามารถที่จะอุทธรณ์คําพิพากษา ของศาลชั้นต้นดังกล่าวภายในเวลา 1เดือน นับแต่วันที่อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น (มาตรา ๔๖) โดย จะต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกผู้บริโภค

คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ...วิธีพิจาณาคดีผู้บริโภค .. ๒๕๕๑ มาตรา ๔๗ บัญญัติว่าในคดีผู้บริโภคที่ ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ..ห้ามมิให้คู่ความ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

  • ตามบทบัญญัติดังกล่าว ถ้าหากว่าการอุทธรณ์นั้น

.เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หากว่าราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันใน ชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท แล้ว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่หากทุน ทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท คู่ความสามารถอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

  • จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์

ในการคิดจํานวนทุนทรัพย์เพื่อพิจารณาสิทธิในการอุทธรณ์นั้น กฎหมายใช้คําว่าราคา ทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์คือจํานวนเงินที่ยังมีการโต้แย้งกันอยู่ในชั้น อุทธรณ์

ข้อสังเกต เมื่อพ...วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯได้กําหนดระบบการอุทธรณ์ไว้เป็นพิเศษแล้ว โดย กําหนดให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ อาจนําประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๔ มาใช้อีก ทั้งนี้ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคจึงไม่มีอํานาจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือรับรองให้ อุทธรณ์ในคดีผู้บริโภคได้

  • กรณีที่มีผู้อุทธรณ์หลายคน

การพิจารณาว่าผู้อุทธรณ์แต่ละคนนั้นมีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมจะต้องพิจารณาสิทธิของผู้ อุทธรณ์เป็นรายบุคคลไป

  • ข.การอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย

ในชั้นอุทธรณ์นั้นหากว่าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์สามารถ อุทธรณ์ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์แต่อย่างใด

  • การชําระค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์

ในการชําระค่าธรรมเนียมในการยื่นอุทธรณ์ จะแยกพิจารณาออกเป็นกรณ์ที่ฝ่ายผู้บริโภคอื่น อุทธรณ์ และกรณีที่ฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจยื่นอุทธรณ์

. กรณีที่ผู้บริโภคหรือผู้มีอํานาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้ยื่นอุทธรณ์ การยื่นอุทธรณ์ถือว่าเป็นการยื่นคําฟ้องต่อศาลอย่างหนึ่ง ผู้บริโภคหรือผู้มีอํานาจดําเนินคดีแทนผู้บริโภค นั้น ย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นศาลอุทธรณ์ ตามมาตรา ๑๘ ทั้งนี้เว้นแต่ศาลจะมี คําสั่งให้ผู้บริโภคหรือผู้มีอํานาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคชําระค่าขึ้นศาลที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๔ วรรคสอง

ส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้บริโภคชําระเงินให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ และให้ผู้บริโภคใช้ค่า ฤชาธรรมเนียมแทนผู้ประกอบธุรกิจนั้น หากว่าผู้บริโภคจะอุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาดังกล่าว ผู้บริโภค ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชําระเฉพาะเพียงค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ แต่ผู้บริโภคยังมีหน้าที่จะต้องนําเงิน และค่าฤชาธรรมเนียมที่ชดใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๙ ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มาตรา

. กรณีผู้ประกอบธุรกิจอุทธรณ์ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ ตามมาตรา ค่าธรรมเนียมศาล(ค่าขึ้นศาล) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจแพ้คดีและ ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคเป็นผู้ชนะคดี ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องนํา เงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคําพิพากษาหรือคําสั่งมาวางศาลพร้อม อุทธรณ์ด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒ct ประกอบ ...วิธีพิจารณาคดี ผู้บริโภคฯมาตรา )

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

 

Facebook Comments