เป็นที่สับสนและมึนงง มากมายในสังคมว่าการซื้อรถหลุดจำนำ ซื้อได้หรือไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ มีสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งต้องดูตามพฤติการณ์และข้อเท็จจริงที่ชัดเจนตามพฤติการณ์ของแต่ละคดีไปในที่นี้บทความนี้จะไม่ขอเอ่ยลงลึกกันในข้อโต้เถียงทางกฎหมาย ส่วนว่าคุณจะผิดหรือไม่สมควรซื้อหรือไม่ทาง Lawyers.in.th ขอให้ท่านพิจารณาจากหลักการตามกฎหมายและเทียบเคียงจากการวินิจฉัยของศาลดังนี้
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร
หลักการวินิจฉัยของศาล
ในคดีรับของโจร ศาลจะสั่งลงโทษผู้กระทำผิดในกรณีที่พิเคราะจากพยานหลักฐานแล้วผู้กระทำผิด รู้ หรือ ควรจะรู้ ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นการได้มาจากการกระทำผิด
คำว่า ” ควรจะรู้ ” ตีความอย่างไรแค่ไหน จะตีความถึงในการที่ ผู้กระทำผิดไม่รู้เลยว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดก็ลงโทษได้ เพราะคำว่า “ควรจะรู้” ไม่จำเป็นต้องรู้ ซึ่งอาจแยกย่อยเป็นประเด็นได้ดังนี้
( แต่เดียวก่อน มาอ่านนี่แปป!! เป็นที่แน่นอนนะครับว่า ไอ่คนขายมันก็ไม่บอกอยู่แล้วว่าทรัพย์นี้เป็นของโจรนะ หรือตีตราว่าเป็นของโจรนะ ตูไปฆ่าเค้ามาแล้วเอามาขายนะ ใครจะบอก เพราะฉนั้น ตัวผู้ซื้อจะต้องใช้ความสุจริต และการระมัดระวังในการซื้อเอาเอง ตลอดจนว่าถ้ามีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัย ก็ให้สังเกตุไว้ก่อนว่าเป็นของโจร )
1.ตัวทรัพย์สิน กล่าวคือ สังเกตจากตัวทรัพย์สิน คือโดยสังเกตุจากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นที่นิยมซื้อขายกันในท้องตลาดหรือไม่ ทรัพย์สินดังกล่าวสังเกตุได้มั้ยว่าได้มาจากการกระทำผิด มีการตีตรา ทำสัญลักษณ์ มีตำหนิ หรือมีสิ่งบ่งชี้เป็นที่หน้าสงสัยหรือไม่ แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่รู้กันโดยทั่วไป เช่น ที่กันรถตกขอบทาง ป้ายจราจร ไฟเขียวไฟแดง นำมาขายกันเองย่อมต้อง “” ควรจะรู้ “” ได้แน่ว่าได้มาจากการกระทำผิดเป็นต้น แต่ถ้าผ่านการแปลสภาพจนไม่หลงเหลือสภาพเดิมมาแล้ว ก็เป็นอีกเรื่อง
2.ราคาทรัพย์สิน เป็นที่แน่นอนกว่าทรัพย์ที่ได้มาโดยสุจริต ย่อมต้องมีค่าตอบแทน ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมประมาณราคาตามท้องตลาดได้ ถ้าได้รับซื้อของราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดเป็นที่น่าตกใจ ย่อมสมควรสงสัยได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มากจากการกระทำผิด เช่น ลัมโบกินี้ราคามือหนึ่ง 23 ล้านบาท ถ้าเป็นรถมือสองราคา 14 15 ล้าน เอามาขาย 10 ล้านในสภาพใหม่ฟรุ้งฟรุง ก็ควรจะต้องรู้
3.พฤติการณืในการซื้อขาย การซื้อขายของที่สุจริตนั้นจะทำการซื้อขายที่ไหนก็ได้ ย่อมไม่มีความเกรงกลัว หรือต้องกระทำการโดยหลบซ่อน ซึ่งแตกต่างกับการซื้อของที่ได้มาจากการกระทำผิด เช่นการส่งมอบ การชำระเงิน สถานที่ เวลากลางวันกลางคืน เป็นต้น
4.สังเกตุจากนิติสัมพันธ์ในการซื้อขาย เช่นมีหน้าร้าน หรือประกอบกิจการนั้นๆ หรือ ว่าการซื้อขายนั้นซื้อขายกันมานานรึยัง ถ้าเพิ่งเริ่มทำการซื้อขายกันก็สมควรที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายเป็นพิเศษ ถ้าซื้อขายกันมานานปีแล้วก็ย่อมมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันธรรมดาแล้วก็ต้องพิเคราะห์ตลอดถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายกันมานานแล้วนั้นด้วยว่าเป็นของโจรบ้างหรือไม่
5. ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่นำทรัพย์สินมาขาย สังเกตุง่ายๆ ถ้าเด็ก 16 17 แต่งตัวธรรมดา หรือ แย่กว่านั้น นำนาฬิกาโรเล็กซ์ หรือ พระราคาแพง มาขายได้ย่อมต้องมีข้อสงสัยว่าเอามาจากไหน เอามายังไง แต่ถ้าซื้อของที่มาจากเซลขายของ มีบัตรเซลพร้อม และขายของชนิดที่รับมอบมาขาย แม้ทรัพย์ที่นำมาขายจะเป็นของโจรก็ย่อมได้รับความคุ้มครองมากกว่าเป็นธรรมดา ตลอดจนมีประวัติการกระทำผิดหรือไม่
6.ตลอดจนประวิติในการซื้อขายของตัวคุณเอง เคยมีประวิติในการกระทำผิดมาก่อน หรือกระทำผิดในลักษณะเดียวกันมาก่อนรึไม่ ถ้าไม่มีเลยก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อรูปคดี
ดังนี้ เมื่อท่านพิจารณาจากหลักการตามกฎหมายและเทียบเคียงจากการวินิจฉัยของศาลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แนะนำว่าไม่ควรจะเข้าไปยุ่ง ดังสุภาษิตที่ว่า ถ้าวันนี้ถูกต้อง ก็ไม่ต้องกลัวพรุ่งนี้ เป็นจริงทุกประการ ขอบคุณครับ
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773
ไลน์ไอดี Lawyers.in.th