Home คดีแพ่ง หนังสือมอบอำนาจ ไม่มีระบุว่าให้ยื่นฟ้องคดี เป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบหรือไม่

หนังสือมอบอำนาจ ไม่มีระบุว่าให้ยื่นฟ้องคดี เป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบหรือไม่

10913

คําถาม หนังสือมอบอํานาจมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอํานาจมีอํานาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล โจทก์จะนําพยานบุคคลมาสืบว่า ผู้รับมอบอํานาจมีอํานาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หรือไม่ คร คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๕๙/๒๕๖๑ กรมอบอํานาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ต้องทําเป็นหนังสือตามนัยแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๒๖ ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา ๖๐ วรรคสอง และมาตรา ๘๐๑ วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. บัญญัติว่า ถ้าตัวแทนได้มอบอํานาจทั่วไป ท่านว่าจะทํากิจใด ๆ ในทางจัดการแทนตัวการก็ ย่อมทําได้ทุกอย่าง และวรรคสองบัญญัติว่า แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะ ทําได้ไม่คือ.. (๕) ยื่นฟ้องต่อศาล อันเป็นบทกฎหมายจํากัดอํานาจของตัวแทนทั่วไปที่ว่าไม่มี อํานาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล เว้นแต่จะได้รับมอบอํานาจแต่เฉพาะการให้ยื่นฟ้องคดีต่อศาล จากตัวการส่วนหนึ่งโจทก์บรรยายฟ้องและนําสืบว่า

โจทก์มอบอํานาจให้ บ. ฟ้องและดําเนินคดีแทนโจทก์ ตามหนังสือมอบอํานาจและคําแปล ซึ่งเมื่อพิจารณาหนังสือมอบอํานาจดังกล่าว ระบุข้อความ ในการมอบอํานาจแต่เพียงว่า บ. มีสิทธิในการลงนามเอกสารดําเนินการทั้งหมดของบริษัทสาขา ทั้งภายในและภายนอกอันมีลักษณะเป็นการมอบอํานาจโดยไม่ระบุกิจการ โดยมิได้ระบุให้ บ. มีอํานาจยื่นฟ้องต่อศาล จึงเป็นหนังสือมอบอํานาจทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา ๘๐๑ วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมี บ. มาเบิกความยืนยันว่าตามหนังสือมอบอํานาจพยานมีสิทธิดําเนินคดีนี้ แทนโจทก์ ก็เป็นการนําสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๔ (ข)

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments