Home คดีแพ่ง ขับชนรถที่จอดอยู่ข้างทางใครผิด…ใครรับผิดชอบ

ขับชนรถที่จอดอยู่ข้างทางใครผิด…ใครรับผิดชอบ

109605

 

คำถาม

ขับชนรถที่อยู่ข้างทางใครผิด.. ?

 

คำตอบ

กรณีตามปัญหาเคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

1.กรณีกลางคืนจอดล้ำเกือบกลางถนนโดยไม่ระมัดระวัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12009/2547

การที่จำเลยจอดรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกรถแบ็คโฮโดยมีแขนของรถแบ็กโฮ ยื่นออกมาด้านท้ายรถและเกินความยาวของตัวรถบริเวณริมถนน โดยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณหรือเครื่องหมายที่ต้องแสดงในกรณีที่จำเป็นต้องจอดรถในทางเดินรถและในลักษณะกีดขวางการจราจร จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนบริเวณแขนรถแบ็กโฮอย่างแรงได้รับอันตรายสาหัส แสดงให้เห็นว่า จำเลยจอดรถด้วยความประมาทขาดสำนึกและขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนนรายอื่น จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของผู้อื่น ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเหมาะสมแล้ว แต่เมื่อจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นการบรรเทาผลร้ายแล้ว ประกอบกับจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงเห็นควรลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก

การที่จำเลยไม่จัดให้มีโคมไฟสัญญาณแสงแดงที่ตอนปลายสุดของรถบรรทุกและจอดรถยนต์บรรทุกดังกล่าวที่ไม่ได้ติดตั้งโคมไฟสัญญาณแสงแดงไว้ข้างทางริมถนนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ชน ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสนั้น การกระทำของจำเลยที่ไม่ได้จัดให้มีโคมไฟสัญญาณ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและตาม ป.อ. มาตรา 300 และฐานไม่จัดโคมไฟสัญญาณแสงตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 61, 151 เป็นสองกรรม จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

2.กรณีกลางวันจอดข้างทางตามปกติ

            จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความเร็วสูง ขณะที่จะสวนทางกับจำเลยที่ 2 เป็นทางโค้ง จำเลยที่ 2 จึงได้เปลี่ยนเป็นเปิดไฟหน้ารถต่ำแล้วหยุดรถจอดแอบขอบทางซ้ายมือ แต่จำเลยที่ 1 ยังขับรถเร็ว เป็นเหตุให้เสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับโดยแรง เป็นเหตุให้คนตายและบาดเจ็บ จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงนั้นทันที และจำเลยที่ 2 มิได้หยุดรถกระทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามสมควร แต่ขับรถหนีไป และมิได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390, 90, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 30, 68, (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 15 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 6, 13 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2

             ศาล ฎีกาวินิจฉัยว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 มาตรา 30 วรรคสอง ผู้ขับรถอยู่ในทางที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายผู้อื่นเท่านั้น ที่มีหน้าที่หยุดรถทำการช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ เคียง จำเลยที่ 2 หยุดรถอยู่ขอบทาง จำเลยที่ 1 ขับรถมาชนรถจำเลยที่ 2 ขับ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 ไม่หยุดรถทำการช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

หลักกฎหมาย

ตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการหยุดรถและจอดรถในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 150 เมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น พฤติการณ์ในการจอดรถของผู้ขับขี่รถบรรทุกในลักษณะดังกล่าว โดยไม่ได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างเพื่อให้ผู้ขับขี่อื่นได้มองเห็นรถบรรทุกที่ จอดในทางไหล่ทางนั้น ผู้ขับขี่รถบรรทุกจึงเป็นฝ่ายฝ่าฝืนต่อ พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมาย อันมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ขับขี่รถบรรทุกจึงเป็นผู้ผิด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 422

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments