Home คดีอาญา ชิงทรัพย์ หรือ กรรโชกทรัพย์ ต่างกันอย่างไรตามคำพิพากษาศาลฎีกา

ชิงทรัพย์ หรือ กรรโชกทรัพย์ ต่างกันอย่างไรตามคำพิพากษาศาลฎีกา

8675

ชิงทรัพย์ หรือ กรรโชกทรัพย์ ต่างกันอย่างไรตามคำพิพากษาศาลฎีกา

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ฎีกาที่ 11052/2553 ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามบทบัญญัติ | ของกฎหมายมิได้อยู่ที่จํานวนทรัพย์สินที่ผู้กระทําผิดได้ไปว่าจะเป็นทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน เพราะไม่ว่าคนร้ายจะได้ทรัพย์สินไปเพียงใด การกระทําความผิดก็เกิดขึ้นแล้วเช่นกัน

แต่ข้อสาระสําคัญอยู่ที่ว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ต้องมีฐานเดิมจาก ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 โดยคนร้ายใช้กําลังประทุษร้ายเจ้าของหรือมีครอบครองทรัพย์นั้น หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้าย เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้นตามความใน ป.อ. มาตรา 339 (2) โดยการลักทรัพย์กับการใช้ กําลังประทุษร้ายต้องไม่ขาดตอน หรือเป็นการลักทรัพย์ที่ต้องขู่เข็ญให้ปรากฏว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้าย ต่อเนื่องกันไป เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคําเบิกความของผู้เสียหายว่า ถูกจําเลยตบหน้าทันทีที่เปิดประตูห้องเมื่อ ช. ตามเข้า ไปปิดประตูห้อง จําเลยก็ล้วงมีดพับออกมาจี้ที่แก้มผู้เสียหายขู่ขอเงินไปซื้อสุรา

พฤติการณ์ของจําเลยเช่นนั้นบ่งชี้ไปในทํานองว่าหากผู้เสียหายขัดขืนไม่ให้เงินก็จะถูกประทุษร้ายต่อเนื่องไปในทันใดนั้น แสดงให้เห็นว่ามุ่งหมายมาทําร้ายและขู่เข็ญผู้เสียหาย โดยประสงค์ต่อทรัพย์มาแต่แรก ไม่ใช่เป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินบางส่วนโดยใช้กําลังประทุษร้ายตามที่จําเลยฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจําเลยตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จึงชอบแล้ว

สรุปศาลพิพากษาโดยดูจากเจตนาที่จำเลย มุ่งหมายมาทําร้ายและขู่เข็ญผู้เสียหาย โดยประสงค์ต่อทรัพย์มาแต่แรก

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments