Home คดีอาญา ผู้เสียหายจงใจไม่มาเบิกความในคดีอาญา มีสิทธิถูกออกหมายจับหรือไม่ (มีฎีกา)

ผู้เสียหายจงใจไม่มาเบิกความในคดีอาญา มีสิทธิถูกออกหมายจับหรือไม่ (มีฎีกา)

5787

ผู้เสียจงใจไม่มาเบิกความในคดีอาญา มีสิทธิถูกออกหมายจับให้มาเบิกความหรือไม่ (มีฎีกา)

  • หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา226/5,227/1

  • คําพิพากษาฎีกาที่ 80/2561

แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยาน คงมีเพียงบันทึกคําให้การของ ผู้เสียหายในชั้นสอบสวน และภาพถ่าย การชี้ที่เกิดเหตุของผู้เสียหาย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการ วินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จําเลยไม่มีโอกาสถามค้านศาลจะต้องกระทํา ด้วยความระมัดระวังก็ตาม แต่ ปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวน พิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ผู้เสียหายมา ศาล และเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ไปได้ประมาณ 10 นาที ผู้เสียหาย แถลงว่าจดจําข้อเท็จจริงเรื่องราว ที่ผ่านมาไม่ได้เนื่องจากเพิ่งคลอดบุตร ได้ประมาณ 40 วัน ศาลชั้นต้นหารือโจทก์และจําเลยแล้ว ทั้งสอง ฝ่าย แถลงร่วมกันว่าขอให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหายในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไป นัดสืบพยานโจทก์ ครั้งถึงวันนัดผู้เสียหาย ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นเลื่อนคดีและออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อ นําตัวมา เป็นพยานหลายนัดแต่ไม่ได้ตัวมาจนต้องงดสืบพยานปากผู้เสียหาย เช่นนี้พฤติการณ์ในการ หลบหนีและไม่ยอมมาเบิกความในชั้นพิจารณา ของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่ง คดี ศาลย่อมรับฟังบันทึกคําให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่า เพื่อลงโทษจําเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะ รับฟัง บันทึกคําเบิกความของผู้เสียหายที่เบิกความไว้ในคดีอาญาของศาล ชั้นต้นที่พวกของจําเลยถูกฟ้อง ในความผิดเดียวกันประกอบพยาน หลักฐานอื่นในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226/5

  • ข้อสังเกต

คดีนี้ผู้เสียหายถูกข่มขืนกระทําชําเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง จนตั้งครรภ์ ในชั้นสอบสวน ผู้เสียหายได้เบิกความต่อพนักงานสอบสวน โดยพนักงานสอบสวนได้ดําเนินการตามกฎหมายทุกประการ แม้พนักงานสอบสวนจะดําเนินการถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ บันทึกคําเบิกความของผู้เสียหายใน ชั้นสอบสวนก็เป็นพยานหลักฐานที่บันทึกลงในเอกสารที่ได้กระทํานอกศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงนั้นอันเป็น พยานบอกเล่า โดยหลักต้องห้ามรับฟังตามปวิอ.ม.226/3 แต่อย่างไรก็ตามการที่วันเบิกความพยานในนัดที่ เลื่อนไปนั้นโจทก์ไม่สามารถตามตัวผู้เสียหายมาเบิกความได้ และได้ออกหมายจับแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจตาม ตัวผู้เสียหายมาได้ ถือว่าเป็นเหตุจําเป็น เนื่องจากไม่สามารถนําตัวผู้เสียหายผู้พบเห็น ในเรื่องที่ตนจะเป็น พยานมาเบิกความได้ และมีเหตุอันสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังบันทึกคําเบิก ความในชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าได้ตามปวิอ.ม.226/3 วรรคสอง (2)

อย่างไรก็ตามแม้ศาลจะรับฟังบันทึกคําเบิกความในชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ แต่ศาลต้องรับ ฟังด้วยความระมัดระวัง ลําพังเพียงบันทึกคําเบิกความไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษจําเลยได้ เว้นแต่ มี เหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานอื่นประกอบมาสนับสนุน ตามปวิอ.ม. 2271 คดีนี้ศาลน่าจะเล็งเห็นว่าการที่พยานซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ยอมมาเบิกความนั้นเกิดจากการข่มขู่ของ จําเลยและพวก และยังเป็นเรื่องน่าอับอายมาของหญิงที่ถูกข่มขืนกระทําชําเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงจนตั้งครรภ์ โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าบิดาของบุตรคือใคร แม้จะทราบก็ไม่พึงประสงค์อยู่เดิม อีกทั้ง ยังจับตัวผู้เสียหายมาเบิกความไม่ได้ (ซึ่งผู้เสียหายอาจถูกแทรกแซงจนถึงแก่ความตายไปแล้ว) ดังนั้น ถือ ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ (เน้นหนักไปที่ว่าอาจมีการข่มขู่พยาน) ที่ศาลจะรับฟังบันทึกคําเบิกความของ ผู้เสียหายในชั้นสอบสวนมาพิจารณาลงโทษจําเลยได้ตามข้อยกเว้นม.227/1

อนึ่ง และจากเหตุดังกล่าวถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังคําเบิกความของผู้เสียหายที่เบิก ความในคดีที่พวกของจําเลยถูกฟ้องมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีนี้ได้ตามปวิอ.ม.226/5

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments