Home ประกันภัย การฉ้อฉลประกันภัย มิติใหม่ของกฎหมายประกันภัยไทย ตอนที่ 1

การฉ้อฉลประกันภัย มิติใหม่ของกฎหมายประกันภัยไทย ตอนที่ 1

4855

การฉ้อฉลประกันภัย

ตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย

(IAIS Insurance Core Principles)

ICP 21: การต่อต้านการฉ้อฉลในการประกันภัย (Countering Fraud in Insurance)
หน่วยงานที่กำกับดูแลกำหนดให้บริษัทประกันภัยและคนกลางประกันภัยต้องดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อยับยั้ง ป้องกัน ตรวจสอบ รายงานและแก้ไขการฉ้อฉลในการประกันภัย

  • เป็นที่มาของการแก้ไข ร่างพ.ร.บ.ประกัรวินาศภัยและประกันชีวิตของไทย ให้มีบทกฎหมายว่าด้วย การฉ้อฉลประกันภัย ในกฎหมายแม่บทด้านประกันภัยทั้งสองฉบับ มาดูแนวทางกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ดังนี้ครับ
  • เดิมกฎหมายเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยอมความได้ แก้ไขใหม่เพิ่มเติมกฎหมายด้านประกันภัยให้มี ความผิดฐานฉ้อโกงประกันภัย(Insurance Fraud) โดยตรง
  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต มีบุคคลแอบอ้างตัวเป็นคนกลางประกันภัยหลอกลวงประชาชนว่า จะทำประกันภัยให้แต่ไม่ดำเนินการดังกล่าว ปัญหาในการดำเนินการที่ผ่านมา ภาครัฐไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากไม่ใช่ผู้เสียหาย โดยผู้ที่ถูกหลอกลวงต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจเอง
  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยรับเบี้ยจากผู้เอาประกันภัยแล้วแต่ไม่นำส่งแก่บริษัทประกันภัย ปัญหาการดำเนินการที่ผ่านมา มีเพียงกระบวนการในการเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยเท่านั้น

การฉ้อฉลประกันภัย

ร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมตามฐานความผิด

  1. ความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้มีการทำประกันภัย วางหลักไว้ว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นทำ/รักษาสถานะสัญญาประกันภัย แต่ไม่ดำเนินการให้มีการทำสัญญา/รักษาสถานะเกิดขึ้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำลายเอกสารสิทธิ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ/ถ้าแสดงข้อความอันเป็นเท็จ/ปกปิดข้อความจริงต่อประชาชน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. ความผิดฐานเรียกร้องสินไหมทดแทนเป็นเท็จ วางหลักไว้ว่า ผู้ใดเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์โดยทุจริต แสดงเอกสารเป็นเท็จในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ/ผู้สนับสนุนต้องระวางโทษเดียวกัน
  3. ความผิดฐาน ให้-เรียก-รับ ทรัพย์สินเพื่อให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน วางหลักไว้ว่า ผู้ใด ให้-ขอให้-รับว่าจะให้ ทรัพย์สินและประโยชน์อื่นใดแก่ กรรมการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากบริษัท หรือ ผู้ใดเป็น กรรมการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากบริษัท เรียก-รับ-ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหม-จ่ายเงิน-ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสน หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ร่างกฎหมายนี้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแล้ว เป็นบทบัญญัติที่มุ่งเน้นให้ความคุ้มครองประชาชนโดยตรง รอประกาศใช้กันต่อไปครับ

ขอบคุณข้อมูล จากสายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ.

ติดตามตัวอย่าง การฉ้อฉลประกันภัยในตอนที่ 2 ครับ

ติดต่อทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายพีท 089-595-5014
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments