Home คดีอาญา เงื่อนไขที่ศาลฎีกาใช้พิจารณาคดีเบิกความเท็จ มีว่าอย่างไร(มีฏีกา)

เงื่อนไขที่ศาลฎีกาใช้พิจารณาคดีเบิกความเท็จ มีว่าอย่างไร(มีฏีกา)

25764

เงื่อนไขที่ศาลฎีกาใช้พิจารณาคดีเบิกความเท็จ มีว่าอย่างไร(มีฏีกา)

คําพิพากษาฎีกาที่ 1346/2561

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คําเบิกความของจําเลยในการพิจารณา คดีต่อศาลเป็นเท็จแต่ไม่เป็นข้อ สําคัญในคดี จําเลยไม่มีความผิดฐาน เบิกความเท็จ หากโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยโจทก์ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่แก้อุทธรณ์ว่าเป็นคําเบิกความเท็จ และเป็นข้อสําคัญในคดี ซึ่งหากศาล อุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่าเป็น คําเบิกความเท็จและเป็นข้อสําคัญในคดีแล้วต้องลงโทษจําเลยในความผิดฐาน เบิกความเท็จแล้ว กรณีย่อมเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ ภาค 4 เปลี่ยนแปลงผลของคําพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์ต้อง กระทําโดยยื่นเป็นคําฟ้องอุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่ ขอมาในคําแก้อุทธรณ์ ทั้งการที่จําเลยอุทธรณ์ว่า คําเบิกความของ จําเลยไม่เป็นคําเบิกความเท็จและเป็นข้อสําคัญในคดีหากศาล อุทธรณ์ ภาค 4 เห็นว่าเป็นคําเบิกความเท็จและเป็นข้อสําคัญในคดีศาลอุทธรณ์ ภาค 4 ก็ลงโทษจําเลย ไม่ได้เพราะโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค หนึ่งประกอบมาตรา 215 เช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า จําเลยขาดเจตนาในการเบิกความเท็จ และพยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบ มามีความสงสัยตามสมควร ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่ จําเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง คดีรับฟังได้ว่า คําเบิกความ ของจําเลยในส่วนนี้ไม่เป็น ความเท็จจึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบและไม่ก่อสิทธิให้แก่โจทก์ที่จะฎีกา

ความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ข้อความเท็จที่ได้เบิกความ ต่อศาลในการพิจารณาคดีจะต้อง เป็นข้อสําคัญในคดี ซึ่งหมายถึง ต้องเป็นข้อสําคัญในคดีอย่างแท้จริง ถึง ขนาดมีผลทําให้แพ้ชนะคดีกันได้โดยอาศัยคําเบิกความอันเป็นเท็จ

ศาลชั้นต้นเพียงแต่นําคําเบิกความของจําเลยมารับฟังประกอบ ข้อวินิจฉัยที่ว่าโจทก์ไม่มี พยานหลักฐานมานําสืบกับคําเบิกความ ตอบคําถามค้านทนายจําเลยของโจทก์เท่านั้นแล้ววินิจฉัยถึง พฤติการณ์ ต่าง ๆ มาเป็นข้อวินิจฉัยให้มีผลเป็นการแพ้ชนะกัน ข้อความที่จําเลย เบิกความจึงไม่ใช่ข้อ สําคัญในคดี จําเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

ข้อสังเกต

ประเด็นที่ 1 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อความที่จําเลยเบิกความเท็จต่อศาลมิใช่ข้อสําคัญในคดี จึงเป็นจําเลยไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ หากโจทก์เห็นว่าจําเลยเบิกความเท็จ แลเห็นว่าคําพิพากษา ของศาลไม่เป็นไปตามกฎหมายก็ชอบที่โจทก์จะโต้แย้งคําพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยการอุทธรณ์คัดค้าน คําพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามสิทธิ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์แก้อุทธรณ์ของจําเลยเห็น ว่าจําเลยกระทําความผิด ไม่เห็นด้วยกับคําพิพากษาของศาลชั้นต้น เป็นการไม่ชอบ (ฎ.12102/2557)

ประเด็นที่ 2 การเบิกความเท็จองค์ประกอบความผิดประการหนึ่งคือต้องเป็นการเบิกข้อความ อันเป็นเท็จในข้อสําคัญในคดี คือเป็นข้อความในประเด็นที่อาจแพ้ชนะกันได้ในคดี หรือเป็นข้อความที่ เกี่ยวกับประเด็นคือพาดพิงถึงข้อความในประเด็นซึ่งเป็นข้อความที่ยังโต้เถียงกันอยู่1

ประเด็นที่ 3 โจทก์มีภาระการพิสูจน์ ศาลชั้นต้นเพียงแต่นําคําเบิกความอันเป็นเท็จของจําเลย มารับฟัง ประกอบกับพยานหลักฐานซึ่งมีน้ําหนักไม่มั่นคงมานําสืบกับคําตอบคําถามค้านของทนายจําเลย ของโจทก์ แล้วนําพฤติการณ์ต่างมากวินิจฉัยให้เป็นผลแพ้ชนะคดีกัน มิได้อาศัยคําเบิกความอันเป็นเท็จ แม้ ไม่มีคําเบิกความอันเป็นเท็จพยานหลักฐานของโจทก์ที่ไม่มั่นคงก็ทําให้โจทก์แพ้คดีได้ ข้อความที่จําเลยเบิก ความจึงมิใช่ข้อสําคัญในคดี(ฎ. 10267/2555)

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี 

Facebook Comments