Home คดีแพ่ง สำนักงานที่ดินถือเป็นนิติบุคคลหรือไม่ มีสิทธิถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ (มีฎีกา)

สำนักงานที่ดินถือเป็นนิติบุคคลหรือไม่ มีสิทธิถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ (มีฎีกา)

7368

สำนักงานที่ดินถือเป็นนิติบุคคลหรือไม่ มีสิทธิถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ (มีฎีกา)

คําพิพากษาฎีกาที่ 667/2561

สํานักงานที่ดินจังหวัดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่อาจถูกฟ้อง เป็นจําเลยได้

พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 42/2 บัญญัติ ให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วม ทั้งหมดลงลายมือชื่อทําหนังสือร้องขอให้เปิดประชุมต่อคณะกรรมการ และให้ กรรมการจัดให้มีการประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับคําร้องขอ ถ้ากรรมการมิได้จัดให้มีการประชุม ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวเจ้าของ ร่วมตามจํานวนข้างต้นมีสิทธิจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ โดยให้ แต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งเพื่อออกหนังสือเรียกประชุม แต่ไม่ได้กําหนดให้ เจ้าของร่วมต้องลงลายมือชื่อแต่งตั้ง ตัวแทนในการร้องขอเปิดประชุม ดังนั้น แม้ไม่มีเจ้าของร่วมลงลายมือชื่อแต่งตั้งจําเลยที่ 2 เป็นตัวแทน ใน การยื่นเรื่องร้องขอให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญ เนื่องจากเป็นเพียง การดําเนินด้านธุรการซึ่งไม่ใช่เป็นเงื่อนไข ที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถจัด ให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามที่เจ้าของร่วมร้องขอได้ การประชุมใหญ่ วิสามัญของนิติบุคคลอาคารชุดตามฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

หนังสือเชิญประชุมของนิติบุคคลอาคารชุดกําหนดวาระการ ประชุม เรื่องการแต่งตั้ง คณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งมีโจทก์ที่ 1 เป็นเพียง กรรมการซึ่งทําหน้าที่รักษาการผู้จัดการเท่านั้น ในการ ประชุมสามารถ แต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลได้ ประกอบกับผลการลงคะแนนเสียง ได้คะแนนเกินหนึ่งในสี่ของ จํานวนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด ตาม พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 49 วาระการประชุม เป็นเพียงกําหนดหัวข้อว่ามีเรื่องอะไรบ้างและไม่จําเป็นต้องประชุม ตามวาระการประชุมเนื่องจากต้อง พิจารณาความสําคัญของหัวข้อ ประชุมและความเกี่ยวพันกัน ดังนั้น การแต่งตั้งให้จําเลยที่ 1 เป็น ผู้จัดการ นิติบุคคลอาคารชุดตามฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

ข้อสังเกต

ประเด็นที่ 1 นิติบุคคลจะก่อตั้งขึ้นได้ด้วยอาศัยอํานาจตามกฎหมายทั้งนี้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 68 เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้สํานักงานที่ดินจังหวัด หรือสํานักงาน ที่ดินกรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้องสํานักงานที่ดิน(ฎ.4374/2539)

ประเด็นที่ 2 ในกรณีมีเหตุจําเป็น เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของคะแนนเสียงของ เจ้าของร่วมทั้งหมดลงลายมือชื่อทําหนังสือร้องขอเปิดการประชุมวิสามัญต่อคณะกรรมการ เมื่อ คณะกรรมการได้รับหนังสือ ให้เรียกประชุมภายใน 15 วันนับแต่วันรับคําร้องขอ ถ้ามิได้จัดให้มีการประชุม ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว เจ้าของร่วมมีสิทธิเรียกประชุมได้เองโดยแต่งตั้งให้ตัวแทนออกหนังสือเรียก ประชุม โดยไม่ได้บัญญัติว่าในขั้นตอนที่เจ้าของร่วมเรียกประชุมเองจะต้องมีหนังสือลงลายมือชื่อแต่งตั้วตัว แทนแต่อย่างใด การแต่งตั้งตัวแทนจึงอาจแต่งตั้งได้ด้วยวาจา ไม่ใช่เหตุที่จะทําให้การจัดประชุมวิสามัญไม่ ชอบด้วยกฎหมาย การเรียกประชุมวิสามัญจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ประเด็นที่ 3 การประชุมของเจ้าของร่วมสามารถประชุมและลงมติให้เป็นไปตามพรบ.ควบคุม อาคารม.49 เท่านั้น ส่วนวาระการประชุมเป็นเพียงรายละเอยีดให้ทราบว่ามีเรื่องอะไรที่จะต้องลงติเท่านั้น แต่หากมีการลงมติชอบด้วยม.49 แล้ว แม้จะไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบการประชุมก็มีผลใช้บังคับได้ ไม่ เหมือนกับปพพ.ม.1175 วรรคสอง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments