Home คดีแพ่ง บันทึกคำเบิกความแทนการซักถาม ที่ทนายจัดทำแล้วนำมายื่นต่อศาล สามารถขอถอนบันทึกในภายหลังได้หรือไม่

บันทึกคำเบิกความแทนการซักถาม ที่ทนายจัดทำแล้วนำมายื่นต่อศาล สามารถขอถอนบันทึกในภายหลังได้หรือไม่

33638

บันทึกคำเบิกความแทนการซักถาม ที่ทนายจัดทำแล้วนำมายื่นต่อศาล สามารถขอถอนบันทึกในภายหลังได้หรือไม่

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ปวิพ. 103/2,120/1,120/3

คําพิพากษาฎีกาที่ 41/2561 

ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดําเนินการสืบพยานหลักฐานไปตามวิธีการที่ คู่ความตกลงกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 103/2 โดยคู่ความแถลงจะจัดทํา บันทึกคําเบิกความแทนการซักถามมายื่นต่อศาล และส่งให้อีก ฝ่ายก่อน วันสืบพยานภายในระยะเวลาตามกฎหมาย อันเป็นการสืบพยานหลักฐาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120/1 วรรคหนึ่ง แต่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อมีการยื่นบันทึกถ้อยคําต่อศาลแล้ว คู่ความที่ยื่นไม่ อาจขอถอนบันทึก ถ้อยคํานั้น บันทึกถ้อยคํานั้นเมื่อพยานเบิกความรับรองแล้วให้ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของ คําเบิกความตอบคําซักถามเท่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120/1 วรรคสอง ในกรณีที่โจทก์ส่งบันทึกคําเบิก ความของ 2. ให้ฝ่าย จําเลยทั้งสองเพียงปากเดียว ส่วนพยานอีก 2 ปาก คือ ก. และ ส. โจทก์นํา พยานมา เบิกความโดยไม่ได้จัดทําบันทึกคําเบิกความส่งให้จําเลยทั้งสอง ตามที่แถลงต่อศาลและศาลอนุญาตแต่ อย่างใด มิได้มีบทบัญญัติของ กฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่ประการใด และบันทึก คําเบิก ความของ ว. ที่โจทก์ส่งให้ฝ่ายจําเลยทั้งสองเพียงปากเดียว ก็ปรากฎ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับประเด็น โดยตรง ซึ่งเป็นไปในทํานองเดียวกับ คําเบิกความของ ก. และ ส. การสืบพยานของโจทก์แม้จะมิได้ ดําเนินการ ไปตามวิธีการที่คู่ความตกลงกัน แต่ก็มิได้ก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมแก่ฝ่ายจําเลยทั้งสอง มิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 103/2 มาตรา 120/1 และมาตรา 120/3 และเป็น การใช้สิทธิ โดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้ชอบที่จะยกฟ้องของโจทก์แต่ประการใด การรับฟังพยานหลักฐาน ตามทางนําสืบโจทก์เป็นไปโดยชอบแล้ว

สรุป

ไม่สามารถขอถอนได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

 

 

Facebook Comments