Home คดีอาญา เปิดคำพิพากษาศาล ฉบับเผยแพร่เต็ม คดีหวย30ล้าน ตัดสินว่าอย่างไร

เปิดคำพิพากษาศาล ฉบับเผยแพร่เต็ม คดีหวย30ล้าน ตัดสินว่าอย่างไร

9428

เฟสบุ๊คของศาลยุติธรรมได้เผยแพร่คำพิพากษาของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ในคดีหวย 30ล้าน ตัดสินในประเด็นข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงอย่างไรทีมงานทนายกฤษดาขอพาไปชมและวิเคราะห์

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ข้อมูลคดี

ในคดีอาญาของศาลจังหวัดกาญจนบุรี คดีหมายเลขดําที่ ๑๘๖๓ / ๒๕๖๑ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๔๓๖/ ๒๕๒๒ ในคดีที่ นายปรีชา ใคร่ครวญเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ร้อยตํารวจโทหรือร้อยตํารวจตรีหรือนายจรูญ วิมูลจําเลยในข้อหายักยอก รับของโจร

ย่อคำฟ้องโจทก์

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดจำเลยโดยเจตนาทุจริตเก็บเอาสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดที่ ๕๓ ประจําวันที่ 9 พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ชุดที่ ๑๔, ๐๙, ๒๔, ๑๕,๒๒ เลข ๕๓๓๒๒๖ จํานวน ๕ ฉบับ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ซื้อมาจากนางสาวรัตนาพร สุภาพิพย์ ที่ตลาดเรดซิตี้ เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐รวม ๔ ขุด ในราคา ๒,๖๐๐ บาท หลังรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากนางสาวรัตนาพรใจทก์นํามาเก็บไว้ในกระเป๋าเสื้อแล้วเดินซื้อของภายในตลาด เมื่อกลับถึงบ้านโจทก็พบว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลเลข ๕๓๗๒๖ รวม๕ ฉบับหายไป ต่อมาผลการออกรางวัลเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ปรากฎว่ารางวัลที่หนึ่งคือเลข ๕๓๓๗๒๖ โดยในระหว่างวันเวลาที่จําเลยเก็บสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ไปไว้ในครอบครอง จําเลยเบียดบังเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลทั้ง ๕ฉบับ ที่มีมูลค่าเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ไปเป็นของจำเลยโดยทุจริต เหตุเกิดที่ตําบลบ้านเหนือ อําเภอเมืองกาญจนบุรีจังหวัดกาญจนบุรี หรือมิฉะนั้นวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จําเลยรับสลากกินแบ่งรัฐบาลดังกล่าวไว้ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทําความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย เหตุรับของโจรเกิดที่ตําบลบ้านเหนือ อําเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลท่าทราย อําเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เกี่ยวเนื่องกัน ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒,๓๕๗  ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว

คำสั่งชั้นประทับฟ้อง

เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา

จำเลยให้การปฏิเสธ

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่

คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหายักยอกสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งซึ่งโจทก์ทำหาย หรือรับสลากกินแบ่งรัฐบาลดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทําความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย จึงต้องวินิจฉัยก่อนว่า สลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ที่ทำหายซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกสําหรับความผิดตามฟ้องหรือไม่

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมาทั้งหมดแล้ว

เห็นได้ว่า

พยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบเกี่ยวกับการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งดังกล่าวคงมีเพียงพยานบุคคสที่อ้างว่าเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อขายเท่านั้น แต่ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนคําเบิกความของพยานบุคคล อีกทั้งคําเบิกความของพยานบุคคลดังกล่าวก็มีข้อพิรุธและขัดแย้งกันเองในหลายประการ ทั้งเรื่องความสามารถของพยานแต่ละคนในการจดจำเลขสลากกินแบ่ง รัฐบาล การโทรศัพท์ติดต่อนัดหมายไปรับสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างโจทก์กับนางสาวรัตนาพร การแจ้งความหลังทราบผลการออกรางวัลและที่สําคัญคําเบิกความของพยานบุคคลที่โจทก์นําสืบสวนขัดแย้งกับข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และพื้นที่การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโจทก์ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ เมื่อพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จำเลยนําสืบหักล้างแล้ว

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจากนางสาวรัตนาพรที่ตลาดเรดซิตี้ในวันศุกร์ที่๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ โดยไม่ได้เดินทางไปตลาดเรดซิตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ แต่โจทก์กลับใช้วิธีนําสืบโดยหยิบยกเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ มากล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ เมื่อปรากฎว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งยังวางขายอยู่บนแผงขายสลากกินแบ่งรัฐบาลของนางสาวพัชริดาในวันที่ ๓๐ตุลาคม ๒๕๖๐ แต่โจทก์ไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจากนางสาวรัตนาพรในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐ แสดงว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลที่โจทก์ซื้อไปจากนางสาวรัตนาพรไม่ใช่สลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่ง แต่เมื่อทราบผลการออกรางวัลสลาก กินแบ่งรัฐบาล งวดประจําวันที่ 9 พฤศจิกายน ๒๕๖๐ นางสาวรัตนาพรเห็นภาพถ่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลบนแผงขายของนางสาวพัชริดา ซึ่งนางสาวพัชริดาฝ่ายรูปไว้เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปรากฎภาพสลากกินแบ่งรัฐบาลแลข ๕๓๒๙๒๖ อยู่บนแผง นางสาวรัตนาพรจึงคิดว่าตนเองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลยุดดังกล่าวไปจากนางสาวพัชริดาแล้วนําไปขายต่อให้โจทก์นางสาวรัตนาพร จึงไปบอกโจทก์ว่าถูกรางวัลที่หนึ่ง

ในครั้งแรกโจทก์ก็ยืนยันว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลที่โจทก์มีเลขสามตัวหน้าไม่ตรงกับรางวัลที่หนึ่ง แต่เมื่อนางสาวรัตนาพรพูดย้ําหลายครั้งว่า โจทก์ถูกรางวัลที่หนึ่ง ทําให้โจทก์เริ่มลังเลจนในที่สุดก็เข้าใจไปด้วยอีกคนว่าตนได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลพูดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งจริงตามที่นางสาวรัตนาพรบอก แม้ว่าขณะนั้นโจทก็จะไม่มีสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งอยู่ในครอบครอง จนกลายเป็นที่มาของการไปแจ้งความว่าโจทก์ทําสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งตกหาย ทั้งๆ ที่ในความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดดังกล่าวมาตั้งแต่แรกเมื่อคดีอาญาโจทก็มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่า มีการกระทําความผิดตามฟ้องเกิดขึ้นจริง แต่พยานหลักฐานที่ใจทก์นำสืบนั้นล้วนแต่มีข้อพิรุธน่าสงสัยและขัดแย้งกับพยานหลักฐานทางวิทฐาศาสตร์ในหลายประการตามที่กล่าวมาข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลชุดที่ถูกรางวัลที่หนึ่งมาจากนางสาวรัตนาพร สลากกินแบ่งรัฐบาลที่จําเลยนําไปขอรับเงินรางวัล ไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔)

โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องจําเลย

พิพากษายกฟ้อง

อ่านเพิ่มเติม

ทีมงานทนายกฤษดา โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments