การรับมรดกแทนที่ของบุตรบุญธรรมแบ่งออกเป็น 2กรณี
กรณีแรก บุตรบุญธรรมของบุตรเจ้ามรดก รับมรดกแทนที่ได้หรือไม่
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๗๓/๒๕๒๔ (ประชุมใหญ่) บุตรบุญธรรม กฎหมาย ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมก็จริง แต่ บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ คําว่า ผู้สืบสันดานโดย ตรงตามมาตรา ๑๖๔๓ นั้น หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสายโลหิตโดยแท้จริง หาใช่ผู้สืบ สันดานโดยอ้อมเพียงการสมมติของกฎหมายเท่านั้นไม่ บุตรบุญธรรมของบุตรเจ้ามรดก ก็ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม การที่มาตรา ๑๖๒๗ บัญญัติให้ถือว่า บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น ก็เพื่อประโยชน์ในการที่ให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม เท่านั้น
กรณีที่สอง บุตรของบุตรบุญธรรม รับมรดกแทนที่ได้หรือไม่
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๐/๒๔๙๔ บุตรบุญธรรมนั้นตามมาตรา ๑๖๒) ให้ ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นทายาทลําดับ ๑ ตามความ ในมาตรา ๑๖๒๙ เมื่อบุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรม ย่อมรับมรดกแทนที่กันได้ ตามมาตรา ๑๖๓ ๙
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th