Home คดีอาญา บังคับผู้เสียหายให้เอารถไปประกันหนี้ และตบหัวบังคับให้เซ็นต์สัญญากู้ มีความผิดหรือไม่ฐานใด

บังคับผู้เสียหายให้เอารถไปประกันหนี้ และตบหัวบังคับให้เซ็นต์สัญญากู้ มีความผิดหรือไม่ฐานใด

3624

บังคับผู้เสียหายให้เอารถไปประกันหนี้ และตบหัวบังคับให้เซ็นต์สัญญากู้ มีความผิดหรือไม่ฐานใด

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๓๒/๒๕๖๑

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายอาญา ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ชิงทรัพย์ ทําร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มาตรา ๓๓๕ (๑), ๓๓๓, ๓๙๑

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ความผิดตามที่ฟ้องรวมการกระทําหลายอย่าง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย นําวิธีพิจารณาในชั้นอุทธรณ์มาใช้ในชั้นฎีกา มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย, ๑๙๕ วรรคสอง, ๒๒๔

คืนเกิดเหตุ จําเลยกับผู้เสียหายเจรจาเรื่องหนี้สินกัน แล้วต่อมา จําเลยนํารถยนต์และกุญแจรถยนต์ของผู้เสียหายไป ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานตํารวจ เข้าตรวจยึดรถยนต์คันดังกล่าวได้จากร้านรับซื้อของเก่า รถยนต์ยังคงอยู่ ในสภาพเดิม ไม่มีการดัดแปลงเปลี่ยนสภาพ แสดงว่าจําเลยต้องการนํารถยนต์ ไปเก็บไว้เป็นการประกันหนี้เพื่อให้ผู้เสียหายมาชําระหนี้คืนแก่จําเลย แต่การบังคับชําระหนี้คืนจากลูกหนี้มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนให้ฟ้องร้อง ดําเนินคดีและบังคับคดีไว้อยู่แล้ว หากจําเลยต้องการบังคับชําระหนี้ จากผู้เสียหาย จําเลยย่อมจะต้องดําเนินการภายใต้กรอบหรือหลักเกณฑ์ ที่กฎหมายกําหนดไว้ การที่จําเลยนํารถยนต์ของผู้เสียหายไปเพื่อเป็นการ ประกันหนี้โดยพลการเช่นนี้จึงเป็นการกระทําโดยไม่มีอํานาจใด ๆ ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สําหรับตนเอง อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตแล้ว การกระทําของจําเลยกับพวกจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

การที่จําเลยตบศีรษะผู้เสียหายนั้น ไม่ได้ตบเพื่อให้เกิดความสะดวก แก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือให้ผู้เสียหายยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือเพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ แต่เป็นการตบศีรษะเพื่อบังคับให้ผู้เสียหายเขียนสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้น การตบศีรษะผู้เสียหายกับการเอารถยนต์ ของผู้เสียหายไปจึงเป็นการกระทําที่แยกขาดจากกัน ไม่ใช่เป็นการ ใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อให้สะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป หรือให้ยื่นให้ ซึ่งทรัพย์นั้น หรือเพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ อันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ การกระทําของจําเลยจึงเป็นการกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๕ (๑) และทําร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตราย แก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา ๓๙๑ แยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้ ความผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ กับความผิดฐานลักทรัพย์ต่างเป็นส่วนหนึ่งของการกระทําหลายอย่าง ซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิด ได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้โดยละเอียดแล้ว ศาลฎีกา จึงมีอํานาจพิพากษาลงโทษจําเลยในการกระทําตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๒ วรรคท้าย นอกจากนี้ การกระทําของจําเลยกับพวก ยังเป็นการกระทําอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งแม้โจทก์จะไม่ได้ฟ้อง ขอให้ลงโทษหลายกรรม และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกาในปัญหา ดังกล่าว แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments