อายุความประกันวินาศภัย รับช่วงสิทธิ ค้ำประกัน ต่างกันอย่างไร
อายุความตามมาตรา 882 เป็นอายุความฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดในค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นความรับผิดตามสัญญาประกันภัย แต่ในกรณีที่ผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไปฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้ทำละเมิดตามมาตรา 880 นั้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปีตามมาตรา 882 แต่ถือหลักตามกฎหมายการรับช่วงสิทธิที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิ
มีสิทธิเช่นเดียวกับผู้เอาประกันที่ตนรับช่วงสิทธิมา
ดังนี้ ผู้รับประกันภัยต้องฟ้องผู้ทำละเมิด
ภายในอายุความละเมิดตามมาตรา 448 เช่นเดียวกับสิทธิของผู้เอาประกันภัย
ฎีกาที่ 5197/2558
ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่าในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นสองปีนับแต่วันวินาศภัย
หมายความถึงว่าในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากผู้เอาประกันภัยจะใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยแต่ในกรณีของผู้รับประกันภัยที่เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องไล่เบียเอาแก่บุคคลภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหาย กำหนดอายุความต้องเป็นไปตามสิทธิเท่าที่ผู้เอาประกันภัยจะพึงมีต่อบุคคลภายนอกแล้วแต่กรณี หาใช่ว่าจะต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วยไม่
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทส. ผู้เอาประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ส.กับ
ไล่เบียจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันความเสียหายในการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ป.พ.พ.มาตรา 889 วรรคหนึ่ง
ส่วนสิทธิเรียกร้องสำหรับความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในความเสียหายในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างตามที่ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ให้ไว้แก่บริษัท ส.นายจ้าง กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีไม่เกิน 10ปีจึงไม่ขาดอายุความ
มีปัญหาทางคดี ติดต่อทนายอธิป
โทร 0917127444 ID LINE scllaw.in.th