การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลกับนิติกรรมที่เกิดจากเจตนาลวงมีข้อแตกต่างกัน อย่างไร
คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๘๖/๒๕๖๑
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๓๗ อันจะตกอยู่ในบังคับแห่ง อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒,๔๐ กรณีต้องเป็นเรื่องที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์มี อํานาจทํานิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้น อันเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ แต่นิติกรรมซื้อขายที่ดิน พิพาทระหว่าง ส. ผู้ขาย กับจําเลยที่ ๑ ผู้ซื้อ เกิดจากเจตนาลวงตกเป็นโมฆะ จําเลยที่ ๑ จึงไม่ใช่เจ้าของไม่มีอํานาจขายที่ดินพิพาทให้แก่จําเลยที่ ๒ กรณีมิใช่การฟ้องเพิกถอนการ ฉ้อฉล ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายในอายุความ ๑ ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๔๐
จําเลยทั้งสองอ้างว่าขณะที่จําเลยที่ ๑ ขายที่ดินพิพาทให้แก่จําเลยที่ ๒ ศาลฎีกายัง มิได้พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่าง ส. กับจําเลยที่ ๑ แต่เมื่อจําเลยที่ ๒ รับโอน โดยไม่สุจริต จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๕ วรรคหนึ่ง ตอนท้าย
คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๕๐/๒๕๖๑
โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จําเลยที่ ๑ โดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการ แสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจําเลยทั้งสอง เพื่อให้จําเลยทั้งสองนําที่ดินพิพาท ไปจํานองเป็นประกันหนี้กู้เงินต่อธนาคาร ท. การโอนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ ๑ และจําเลยที่ ๑ กับจําเลยที่ ๒ จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๕ วรรคหนึ่ง
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @Lawyers.in.th
Facebook Comments