Home คดีอาญา ฎีกากลับหลัก ทำสัญญาประนีประนอมในคดีแพ่ง มีข้อยกเว้นเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ สามารถทำได้หรือไม่คดีระงับหรือไม่

ฎีกากลับหลัก ทำสัญญาประนีประนอมในคดีแพ่ง มีข้อยกเว้นเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ สามารถทำได้หรือไม่คดีระงับหรือไม่

11296

คำถาม

ฎีกากลับหลัก ทำสัญญาประนีประนอมในคดีแพ่ง มีข้อยกเว้นเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ สามารถทำได้หรือไม่คดีระงับหรือไม่

คำตอบ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๗๘๘/๒๕๖๒

ในวันนัดฟังคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลจากการยื่น คําร้องของจําเลยที่ ๒ ว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งถูกโจทก์นําไปฟ้องเป็นคดีแพ่งมีการทําสัญญา ประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมเป็นดุลพินิจของศาล ที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่โดยอาศัยพยานหลักฐานอย่างไร หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องทําการไต่สวนรับฟังคําคัดค้านของโจทก์เสียก่อนไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดฟังคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑ และศาลชั้นต้นส่งสํานวนคืน เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิจารณาคําร้องของจําเลยที่ ๒ ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 เห็นเป็นการเพียงพอที่จะรับฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามสําเนาคําฟ้องประกอบกับสําเนาสัญญา ประนีประนอมยอมความซึ่งรับรองความถูกต้องโดยเจ้าพนักงานศาลข้างต้น ก็ชอบที่จะมีคําวินิจฉัยได้ โดยไม่จําต้องไต่สวนก่อน

มูลหนี้ซื้อเครื่องยนต์และอุปกรณ์รถยนต์ซึ่งจําเลยที่ ๒ ชําระหนี้ด้วยเช็คพิพาท ถูกโจทก์ นําไปฟ้องเป็นคดีแพ่ง ซึ่งต่อมาโจทก์และจําเลยที่ ๒ ได้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ในคดีแพ่งดังกล่าวและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมทําให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จําเลยที่ ๒ ชําระเงินตามมูลหนี้ค่าซื้อเครื่องยนต์และอุปกรณ์ รถยนต์จากการออกเช็คพิพาทเป็นอันระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๒ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จําเลยที่ ๒ ชําระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอม ยอมความเท่านั้น แม้จําเลยที่ ๒ จะไม่ชําระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิ เรียกร้องให้จําเลยที่ ๒ รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก จึงต้องถือว่าหนี้ค่าซื้อเครื่องยนต์และ อุปกรณ์รถยนต์ที่จําเลยที่ ๒ ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้น เป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลในคดีนี้ มีคําพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ สิทธินําคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ ส่วนที่ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ ๑ ระบุไว้ว่า การทําสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่วินิจฉัยอยู่นี้ เป็นทํานองยกเว้น มิให้ถือว่าคดีอาญาเลิกกันด้วยก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง กฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๐ ซึ่งข้อตกลง ดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้ออื่นได้ จึงไม่ทําให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมด ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๗๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มีปัญหาคดีความปรึกษาทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @Lawyers.in.th

 

 

Facebook Comments