คำถาม
บุกรุกที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ยอมความได้หรือไม่ หากไม่มีการแจ้งความสามารถดำเนินคดีได้หรือไม่ ผิดกฎหมายตามมาตราใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๓๐/๒๕๖๒
{คำฟ้องของโจทก์}
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลากลางวันถึงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดต่อเนื่องจนถึงวันฟ้องจําเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินที่ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินบริเวณบ้านห้วยงูใน หมู่ที่ ๕ ตําบลสันทราย อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอยู่ในความดูแลของสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมผู้เสียหาย เนื้อที่๓๗๒ ไร่ ๔๒ ตารางวา ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรทํากิน โดยจําเลยทั้งสามร่วมกันก่นสร้าง แผ้วถางป่า แล้วยึดถือครอบครองปลูกสร้างอาคารถาวร๓ หลัง และปลูกไม้ยืนต้น โดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยปกติสุข เหตุเกิดที่ตําบลสันทราย อําเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ จําเลยที่ ๑ เป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่อ. ๑๒๓/๒๕๕๙ ของศาลชั้นต้น จําเลยที่ ๒ เป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ. ๓๒๓/๒๕๕๔ ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๘๓, ๓๖๒, ๓๖๕ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๙, ๑๐๘ ทวิ ให้จําเลยทั้งสามและบริวารออกจากที่ดินที่เข้าไปยึดถือครอบครอง และนับโทษจําคุกจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ต่อจากโทษของจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ ในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ ๑๒๓/๒๕๕๔ และคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ. ๓๒๗/๒๕๕๙ ตามลําดับของศาลชั้นต้น
{คำให้การจำเลย}
จําเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ แต่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
{คำพิพากษาศาลชั้นต้น}
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จําเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๒ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๔ (๑), ๑๐๘ ทรีวรรคสอง การกระทําของจําเลยทั้งสามเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ จําคุกจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ คนละ ๔ เดือน จําคุกจําเลยที่ ๓”มีกําหนด ๙ เดือน และปรับ ๓,๐๐๐ บาท ทางนําสืบของจําเลยทั้งสามเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๗๘ คงจําคุกจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ คนละ ๖ เดือน จําคุกจําเลยที่ ๓ มีกําหนด๖ เดือน และปรับ ๒,๐๐๐ บาท โทษจําคุกของจําเลยที่ ๓ ให้รอการลงโทษไว้ ๒ ปีไม่ชําระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ ให้จําเลยทั้งสามและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ยกคําขอให้นับโทษจําคุกจําเลยที่ ๑ และที่ ๒ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. ๔๐/๒๕๖๐ และคดีอาญาหมายเลขแดงที่๔๑/๒๕๖๐ เพราะทั้งสองคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นรอการลงโทษจําคุกให้แก่จําเลยที่และที่ ๒ คําขออื่นให้ยก
{จำเลยที่ ๑และที่ ๓ อุทธรณ์เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่รอการลงโทษ}
จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๔ (๑), ๑๐๘ ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๒ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น
จําเลยที่ ๑ ฎีกา
{คำวินิจฉัยศาลฎีกาส่วนอำนาจฟ้อง}
ศาลฎีกาตรวจสํานวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจําคุกจําเลยที่ ๑ ไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาโนปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่งคงมีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจําเลยที่ ๑ ประการแรกว่า โจทก์มีอํานาจฟ้องเรือไม่ เห็นว่า การกระทําตามฟ้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๙ (๑),๑๐๘ ทวิ เป็นความผิดที่กระทําต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวนได้แม้จะไม่มีคําร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒๑ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอํานาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๔๔ (๑), ๒๒๐และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ ฯ มาตรา ๓๑ (๑) โดยมิต้องคํานึงว่า ผู้ร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีจะเป็นผู้ใด หรือร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่ใครบ้าง ผู้ร้องทุกข์ได้รับมอบอํานาจจากผู้เสียหายที่แท้จริงหรือไม่ และหนังสือมอบอํานาจดังกล่าวจึงปิดอากรแสตมป์ กับมีตราสําคัญของผู้มอบอํานาจประทับไว้หรือไม่ โจทก์จึงมีอํานาจฟ้อง
{คำวินิจฉัยศาลฎีกาส่วนฟ้องชอบด้่วยกฎหมายหรือไม่}
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจําเลยที่ ๑ ประการต่อมามีว่า คําฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๕ (๕) หรือไม่ เห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดต่อเนื่องจนถึงวันฟ้อง จําเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินที่ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินบริเวณบ้านห้วยงูใน หมู่ที่ ๕ ตําบลสันทราย อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอยู่ในความดูแลของสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้เสียหาย เนื้อที่ ๓๗๒ ไร่ ๔๒ ตารางวา ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรทํากิน โดยจําเลยทั้งสามร่วมกันก่นสร้าง แผ้วถางป่า แล้วยึดถือครอบครองปลูกสร้างอาคารถาวร ๓ หลัง และปลูกไม้ยืนต้นโดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของสํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยปกติสุขซึ่งคําฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยทั้งสามกระทําความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ซึ่งจําเลยทั้งสามมิได้หลงข้อต่อสู้เกี่ยวกับคําฟ้องของโจทก์ คําฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ (๕) แล้ว ส่วนโจทก์จะนําสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาได้สมคําฟ้องหรือไม่ ศาลย่อมนําข้อนําสืบของโจทก์ดังกล่าวมาวินิจฉัยถึงการกระทําของจําเลยว่าเป็นความผิดหรือไม่ เป็นคนละส่วนกัน ไม่ทําให้คําฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคําฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของ
จําเลยที่ ๑ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
สรุป ยอมความไม่ได้ ไม่ใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา ๙ (๑) และมาตรา ๑๐๘ ทวิ
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา โทร
089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th