ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ ศาลจะพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดด้วยได้หรือไม่
มีแนวคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัย ปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ไว้ดังนี้
ข้อเท็จจริง
-จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้าง
-จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด
-จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด(หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด)
แนววินิจฉัของศาลฎีกา
1.จำเลยที่ 1 พักอยู่ที่ที่ทำงานและจะใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเป็นประจำในการทำงาน เหตุรถเฉี่ยวชนกันเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 22:00 น หลังจากเวลาเลิกงานตามปกติแล้ว
2. ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารการเกิดเหตุไปเติมน้ำมัน แม้จะอยู่นอกเวลาที่ทำงานแต่ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่ ที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จึงเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ที่บัญญัติให้ผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนนั้น มิได้ระบุยกเว้น หรือเงื่อนไขแห่งการรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ ในหนี้ของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด
4. พิพากษาให้จำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องร่วมรับผิดด้วย
แนวคำพิพากษาฎีกาที่ 3753/2553