Home คดีแพ่ง นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/คอนโด ใครเป็นผู้มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ (มีฎีกา)

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/คอนโด ใครเป็นผู้มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ (มีฎีกา)

12359

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/คอนโด ใครเป็นผู้มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ (มีฎีกา)

 

เป็นเรื่องที่มีปัญหากันตามสมควรว่าการแจ้งความร้องทุกข์สำหรัยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโด หากมีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ใครเป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์ ศาลใช้หลักเกณฑ์ใดในการพิจารณา ทีมงานทนายกฤษดาได้ค้นคว้าคำพิพากษาศาลฎีกามาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๔๗/๒๕๖๑

ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรปาริชาต รังสิต คลองสี่ กําหนดอํานาจหน้าที่ของกรรมการ นิติบุคคลข้อ ๑๐ ไว้ว่า ข้อ ๑๐.๕ มีอํานาจแจ้งความร้องทุกข์ ดําเนินคดี ในการปกป้องสิทธิและ ผลประโยชน์ของส่วนรวมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยข้อ ๑๐.๓ ระบุลงลายมือชื่อเพื่อให้มีผลผูกพัน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) กรณีลงนามเอกสารทั่วไป ให้ลงลายมือชื่อประธาน กรรมการ (๒) กรณีทํานิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ให้ลงลายมือชื่อประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีก สองท่าน (๓) กรณีเอกสารที่เกี่ยวกับบัญชีและการเงินให้ลงลายมือชื่อประธานกรรมการและกรรมการ อื่นอีกสองท่าน แต่อย่างน้อยต้องเป็นกรรมการที่เกี่ยวกับการบัญชีและการเงินหนึ่งท่านลงลายมือชื่อ ด้วย

{หลักเกณฑ์ที่ศาลฎีกาใช้พิจารณา}

จะเห็นได้ว่าการทํานิติกรรมสัญญาต่าง ๆ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบัญชีและการเงิน ตามข้อบังคับให้ประธานกับกรรมการอื่นร่วมลงลายมือชื่อด้วยจึงจะผูกพันนิติบุคคลโจทก์ เพราะเป็น เรื่องที่จะต้องผูกพันนิติบุคคลในลักษณะนิติกรรมสัญญาและการเงิน

ส่วนการแจ้งความร้องทุกข์ ฟ้องร้องดําเนินคดีในการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของส่วนรวมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ข้อบังคับ ไม่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงถือว่าเป็นการดําเนินการทั่วไป และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับข้อใดที่ระบุว่า ห้ามโจทก์ฟ้องลูกบ้านหรือคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโจทก์ ดังนั้น เรื่องอํานาจฟ้อง ประธานกรรมการนิติบุคคลของโจทก์เพียงคนเดียวจึงมีอํานาจลงลายมือชื่อและมีผลผูกพันนิติบุคคล โจทก์

การที่จําเลยมีเจตนาที่ทําให้ใบเสร็จต้นฉบับกับสําเนามีรายละเอียดไม่ตรงกัน จึงเป็นการ วางแผนเพื่อจะได้ไปซึ่งทรัพย์สิน เมื่อต้นฉบับใบเสร็จตามหมาย จ.๙ ดังกล่าว จําเลยทําขึ้นหลังจาก พ้นหน้าที่แล้วจึงเป็นเอกสารที่จําเลยทําปลอมขึ้น เพื่อจะได้เงินค่าส่วนกลางจากลูกบ้านซึ่งต้องจ่าย ให้แก่นิติบุคคลโจทก์ ที่แสดงว่านิติบุคคลโจทก์ได้รับชําระค่าส่วนกลางไว้แล้ว การปลอมเอกสาร ดังกล่าวของจําเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ เมื่อจําเลยนําใบเสร็จรับเงินที่ปลอมไปให้แก่ลูกบ้าน ที่มีชื่อปรากฏอยู่ การกระทําของจําเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมด้วย

สรุป ส่วนการแจ้งความร้องทุกข์ ฟ้องร้องดําเนินคดีในการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของส่วนรวมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ข้อบังคับ ไม่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงถือว่าเป็นการดําเนินการทั่วไป และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับข้อใดที่ระบุว่า ห้ามโจทก์ฟ้องลูกบ้านหรือคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโจทก์ ดังนั้น เรื่องอํานาจฟ้อง ประธานกรรมการนิติบุคคลของโจทก์เพียงคนเดียวจึงมีอํานาจลงลายมือชื่อและมีผลผูกพันนิติบุคคล โจทก์

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments