Home คดีอาญา ผู้เสียหายในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญาตามมาตรา 44/1 จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่

ผู้เสียหายในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญาตามมาตรา 44/1 จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่

8174

ผู้เสียหายในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญาตามมาตรา 44/1 จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๐๐/๒๕๖๐ (ประชุมใหญ่)

ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ บัญญัติว่า “ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพราะเหตุที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทําความผิดของจําเลย ผู้เสียหายจะยืน คําร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้” เป็นบทบัญญัติ ที่มีเจตนารมณ์จะช่วยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายทางแพ่งได้รับความสะดวกรวดเร็วในการได้รับชดใช้ค่า สินไหมทดแทนและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาจะ ได้เสร็จสิ้นไปคราวเดียวกัน

โดยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายยื่นคําร้องเข้ามาในคดีอาญาดังที่ปรากฏใน หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ ความว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากการดําเนินคดีแพ่งที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติให้พนักงานอัยการมีเพียงอํานาจในการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในความผิด เกี่ยวกับทรัพย์บางประเภทเท่านั้น ผู้เสียหายซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทําความผิดของจําเลย ต้องไปดําเนินคดีส่วนแพ่งเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนอื่นด้วยตนเอง และต้องเสียค่าธรรมเนียมในการ เรียกค่าสินไหมทดแทนอันเป็นภาระยิ่งขึ้นให้แก่ผู้เสียหาย

ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคําร้องขอให้จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาทุก ประเภทที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องไปได้เพื่อให้การพิจารณาคดีส่วนแบ่งเป็นไปโดยเร็ว รวมทั้ง ยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการดําเนินคดีดังกล่าวเพื่อลดภาระให้แก่ผู้เสียหาย จึงจําเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ ดังนี้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้มีคําอธิบายคําว่าผู้เสียหายไว้ ในมาตรา ๒ (๔) ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิด ฐานโดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้

ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ 5” แต่ ข้อความตามมาตรา ๔๔/๑ ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงมีความหมายที่ แตกต่างขัดกับความหมายของผู้เสียหายที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒ (๔) การตีความคําว่าผู้เสียหายตาม มาตรา ๔๔/๑ จึงไม่ต้องถือตามความหมายเช่นเดียวกับมาตรา ๒ (๔) ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑ ที่บัญญัติว่า “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคําใดมีคําอธิบายไว้แล้วให้ถือ

ตามความหมายดังได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคําอธิบายนั้น” ดังนั้นการพิจารณาว่า ผู้ใดจะมีสิทธิยื่นคําร้อง ต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนําความหมายของคําว่า ผู้เสียหายในทางคดีอาญา เช่น เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้มีอํานาจจัดการแทนตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๕ (๒) มาบังคับใช้ สําหรับคดีนี้ผู้ร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมา ๒ ส่วน คือ ค่าเสียหายของรถยนต์ของนายผจญและค่าที่ผู้ร้องขาดไร้อุปการะ สําหรับค่าเสียหายของรถยนต์ นายผจญเป็นผู้เสียหายในฐานะเจ้าของรถ

เมื่อนายผจญถึงแก่ความตายไปแล้ว สิทธิในการเรียก ค่าเสียหายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายผจญ จึงใช้สิทธิ์ใน ฐานะทายาทเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้ และค่าขาดไร้อุปการะนั้นผู้ร้องในฐานะเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของนายผจญ เป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตัวของผู้ร้องเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๔๔๓ วรรคสาม และมาตรา ๑๔๖๑ วรรคสอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ส่วนนี้ได้เช่นเดียวกัน ส่วนความประมาทของนายผจญนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่จะนํามาใช้ประกอบดุลยพินิจ ในการกําหนดค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่ทําให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหมดไป

สรุป ไม่จำเป็น

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments