Home คดีครอบครัว กู้ยืมเงินทาง Facebook/Line ไม่มีสัญญาเงินกู้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้หรือไม่ และฟ้องโดยวิธีใด(มีคำพิพากษา)

กู้ยืมเงินทาง Facebook/Line ไม่มีสัญญาเงินกู้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้หรือไม่ และฟ้องโดยวิธีใด(มีคำพิพากษา)

21825

>>เกี่ยวกับคดีนี้

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน และสมาชิกแฟนเพจ ทีมงานทนายความกฤษดา ได้รับการขอคำปรึกษามาเยอะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จึงขออนุญาตถ้อยแถลงพร้อมแนบหลักฐานประกอบ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า

คดีนี้เดิม โจทก์และจำเลยมีการกู้ยืมเงินกันโดยส่งข้อความกันทางแอพพลิเคชั่น Facebook ซึ่ง เมื่อได้กู้ยืมเงินกันแล้วมีการส่งข้อความยืนยันการกู้เงินกันผ่านทางแอพพลิเคชั่น LINE จากนั้นมีการพูดคุยกันทั้งใน Facebook และใน LINE เมื่ออ่านข้อความโดยรวมแล้วมีตัวเลขที่กู้ยืมชัดเจนและมีวันเวลาที่จะคืนจึงใช้กฎหมายใหม่มาฟ้อง ประกอบกับมีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

(ติดต่อทนายกฤษดา 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th )

>>หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา4,7,8,9

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653

>>คำพิพากษาศาลฎีกาที่ค้นคว้ามาเพื่อฟ้องประกอบคดี

คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 ใจความหลักเรื่อง ” ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว และมาตรา 9 บัญญัติว่าในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ”

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2553 ใจความหลักเรื่อง สาระสำคัญของการกู้ยืมคือการส่งมอบเงินหรือหลักฐานเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2551 ใจความหลักเรื่องมูลคดีเกิด หรือสถานที่ใช้สิทธิทางศาล

>>หลักฐานเบื้องต้นและขั้นตอนในการฟ้องที่ควรมีมีดังต่อไปนี้

1.คดีนี้ก่อนฟ้องมีการออกหนังสือทวงถามก่อนเพื่อจะได้ยืนยันว่าจำเลยเพิกเฉยหรือไม่ชำระหนี้อันเป็นการโต้แย้งสิทธิ์ทำให้มีอำนาจฟ้อง

2. ต่อมาเป็นหลักฐานเกี่ยวกับโปรไฟล์ของจำเลยในแอพพลิเคชั่น Facebook และแอพพลิเคชั่น LINE รวมทั้งการทำกิจกรรมอื่นๆซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าบัญชี Facebook และบัญชี LINEเป็นของจำเลย และแคปเจอร์ข้อความที่สนทนาประกอบด้วย

3.สลิปหรือหลักฐานการโอนเงิน ตรวจชื่อสกุลให้ตรงกับหลักฐานข้อ4

4.หลักฐานถัดมาคือทะเบียนราษฎร์ของจำเลย หากมีการเปลี่ยนชื่อ ต้องมีหลักฐานเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลด้วย

5.ถัดมาเป็นคำขอเปิดบัญชีธนาคารที่โจทก์โอนเงินเข้า คำขอเปิดบัญชีนี้จะเห็นจะเห็นชื่อของผู้ขอเปิดบัญชีปกติแล้วก็จะตรงกับชื่อจำเลย

6.รายการเคลื่อนไหวทางบัญชี ของทั้งของโจทก์ที่โอนเงินออก และของจำเลยที่โอนเงินเข้า โดยสามารถระบุไว้ในหมายเรียกพยานเอกสารว่าจำนวนเงิน 80,000 บาทได้รับโอนมาจากบัญหมายเลขใด และชื่อบัญชีใด

7.แนบพรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย

คำพิพากษาที่ศาลตัดสิน

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

 

Facebook Comments