Home ทั้งหมด ข่าวด่วนทนายความต้องรู้ มหาดไทยปรับค่าธรรมเนียมคัดทะเบียนราษฎร

ข่าวด่วนทนายความต้องรู้ มหาดไทยปรับค่าธรรมเนียมคัดทะเบียนราษฎร

14793

สารบัญ

ทีมงานทนายความกฤษดาได้ค้นราชกิจจาฯ อับเดตมีผลเรื่องการ กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการประกาศเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๓

สรุปสาระสำคัญ

1.การขอคัดตามาตรา 6ผู้มีส่วนได้เสียจะขอตรวจ หรือคัดสำเนารายการ หรือให้นายทะเบียนคัดและรับรองซึ่งสำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิดหรือทะเบียนคนตาย เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท

2.การขอคัดตามมาตรา 14 (1)บุคคลผู้มีหน้าที่แจ้งการต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เจ้าของประวัติซึ่งปรากฏในข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรตามมาตรา 12 หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ในกรณีเจ้าของประวัติเป็นผู้เยาว์ ผู้อนุบาลในกรณีเจ้าของประวัติเป็นคนไร้ความสามารถหรือทายาทเจ้าของประวัติ หรือผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลดังกล่าวข้างต้น อาจขอให้นายทะเบียนดำเนินการได้ที่สำนักทะเบียนในวันเวลาราชการ ดังนี้

(1) คัดและรับรองเอกสารข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร ตามมาตรา 12 และเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ค่าธรรมเนียม 20 บาท

3.แจ้งเกิดแจ้งตายย้ายที่อยู่ 20บาท

4.ถ้าสำเนาทะเบียนบ้านชำรุดจนใช้การไม่ได้หรือสูญหาย ให้เจ้าบ้านขอรับสำเนาทะเบียนบ้านใหม่ได้ และเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 30 บาท

สรุป 1 การขอคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎรของทนายความ หากทนายความเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรพ.ศ.2534 มาตรา 6 สามารถยื่นคำร้องขอคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎรได้ โดยแสดงหลักฐานความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ใบแต่งทนายหรือ หนังสือมอบอำนาจจากคู่ความโดยยื่นคำร้องให้นายทะเบียนคิดและรับรองสำเนาทะเบียนบ้านทะเบียนคนเกิดหรือ ทะเบียนคนตาย 2 ส่วนการขอคัดทะเบียนประวัติ ทร.12 ต้องเป็นไปตาม มาตรา 14 ผู้ที่ขอคัดได้ คือ เจ้าของประวัติ ซึ่งปรากฎในข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร หรือ ผู้แทนโดยชอบธรรม ในกรณีเจ้าของประวัติเป็นผู้เยาว์ผู้อนุบาลในกรณีเจ้าของประวัติเป็นคนไร้ความสามารถหรือ ทายาทเจ้าของประวัติหรือ ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคล 3 ส่วนทะเบียนชื่อสกุล การขอคัดและรับรองสำเนาต้องให้เจ้าของหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุลและเจ้าของหนังสือสำคัญแสดงการร่วมใช้ชื่อสกุลสามารถมอบหมายเป็นหนังสือแก่บุคคลอื่นมายื่นคำร้องขอคัดและรับรองสำเนาหรือออกใบแทนหนังสือสำคัญทะเบียนชื่อบุคคลได้ โดยให้นายทะเบียนท้องที่บันทึกถ้อยคำของผู้ได้รับมอบหมายให้ปรากฎโดยแน่ชัดว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายจริงและไม่มีเจตนาทุจริต (หนังสือ มท 0302/27268 ลว 16 ก.ค. 36 เรื่องหารือการคัดและรับรองสำเนาทะเบียนชื่อบุคคล) 4 การขอคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนครอบครัว หากทนายความมีใบแต่งตั้งทนายความ หรือ หนังสือมอบอำนาจจากคู่ความก็สามารถดำเนินการได้ (หนังสือ มท 0302/ว1222 ลว 28 พ.ค.35)

สรุปสั้น ทนายความคัดตามมาตรา 6 ค่าธรรมเนียมเท่าเดิม

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773

Facebook Comments