Home คดีอาญา ถูกต้องโทษจำคุกและปรับในคดีอาญา มีสิทธิถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินเพื่อชำระค่าปรับหรือไม่

ถูกต้องโทษจำคุกและปรับในคดีอาญา มีสิทธิถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินเพื่อชำระค่าปรับหรือไม่

8152

ถูกต้องโทษจำคุกและปรับในคดีอาญา มีสิทธิถูกบังคับคดียึดทรัพย์สินเพื่อชำระค่าปรับหรือไม่

ความเดิม

หลายท่านไม่ทราบ และตามปกติมักจะเข้าใจว่า หากถูกตัดสินจำคุกและปรับ มักจะเข้าใจว่าหากไม่ชำระค่าปรับจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ

หลักกฎหมายที่ถูกแก้

ซึ่งกฎหมายในส่วนนี้มีการแก้เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๙ ความว่า

มาตรา ๒๙ ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้

ความในวรรคสองของมาตรา ๒๔ มิให้นำมาใช้บังคับแก่การกักขังแทนค่าปรับ

มาตรา ๒๙/๑ ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อใช้ค่าปรับ

การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดีและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจหน้าที่ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับและขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาลหรือพนักงานอัยการ ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดำเนินการบังคับคดี

การตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับโดยพนักงานอัยการเพื่อการบังคับคดีตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของอัยการสูงสุด

บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคำสั่งตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๓๐ ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราห้าร้อยบาทต่อหนึ่งวัน และไม่ว่าในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินกำหนดหนึ่งปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่สองแสนบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีก็ได้

ในการคำนวณระยะเวลานั้น ให้นับวันเริ่มกักขังแทนค่าปรับรวมเข้าด้วยและให้นับเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนชั่วโมง

ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังนั้นออกจากจำนวนเงินค่าปรับ โดยถืออัตราห้าร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ผู้นั้นต้องคำพิพากษาให้ลงโทษทั้งจำคุกและปรับ ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าจะต้องหักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากเวลาจำคุกตามมาตรา ๒๒ ก็ให้หักออกเสียก่อนเหลือเท่าใดจึงให้หักออกจากเงินค่าปรับ

เมื่อผู้ต้องโทษปรับถูกกักขังแทนค่าปรับครบกำหนดแล้ว ให้ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกำหนด ถ้านำเงินค่าปรับมาชำระครบแล้ว ให้ปล่อยตัวไปทันที

นอกจากนี้ยังมีข้อบังคับให้พนักงานอัยการข้อบังคับของอัยการสูงสุดว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับพ.ศ. ๒๕๖๐

สรุปหลักเกณฑ์เบื้องต้น

“ผู้ต้องโทษปรับ” หมายความว่า ผู้ต้องโทษปรับในคดีอาญาที่ไม่ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาที่ศาลได้ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อใช้ค่าปรับ

“การตรวจสอบหาทรัพย์สิน” หมายความว่า การสืบหาทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับอันพึงยึดหรืออายัดเพื่อนำมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษา

ข้อ ๔ เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีกับผู้ต้องโทษปรับและพนักงานอัยการมีคำสั่งให้รับดำเนินการบังคับคดีแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับนี้

ข้อ ๕ การตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับ ให้พนักงานอัยการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ต้องโทษปรับตามคำพิพากษาที่จะดำเนินการตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับตามแบบพิมพ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด และพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรดังนี้

(๑) การตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์

(ก) ให้มีหนังสือไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน สำนักงานที่ดิน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้น ที่ปรากฏหลักฐานหรือเชื่อได้ว่าผู้ต้องโทษปรับมีหรือเคยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเพื่อตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนของทรัพย์นั้น ๆ เช่น การถือกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง ของผู้ต้องโทษปรับ

(ข) ในกรณีมีเหตุอันควร ให้มีหนังสือไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน สำนักงานที่ดิน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์นั้นแห่งอื่นนอกเหนือจากข้อ (ก)

(๒) การตรวจสอบทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สิน ของผู้ต้องโทษปรับ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น พันธบัตรรัฐบาล ให้มีหนังสือไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย

(๓) การตรวจสอบทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝาก และสิทธิเรียกร้องอื่นของผู้ต้องโทษปรับ ที่มีอยู่กับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ออมทรัพย์ เช่น สลากออมสิน สลากออมทรัพย์ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น หรือเงินปันผล ให้มีหนังสือไปยังสถาบันการเงินและสหกรณ์ออมทรัพย์นั้น ๆ แล้วแต่กรณี

(๔) การตรวจสอบหลักทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของผู้ต้องโทษปรับ ให้มีหนังสือไปยังผู้ออกหลักทรัพย์ ผู้ครอบครองตราสาร รวมทั้งบุคคลซึ่งต้องชำระหนี้ตามตราสารนั้น ผู้ฝากหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี

(๕) การตรวจสอบทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ของผู้ต้องโทษปรับที่มีการจัดทำทะเบียนหรือมีหลักฐานกับหน่วยงานของรัฐ เช่น เครื่องจักร รถยนต์ อาวุธปืน ให้มีหนังสือไปยังนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับหลักฐานนั้น

(๖) กรณีที่ผู้ต้องโทษปรับเป็นนิติบุคคล อาจทำการตรวจสอบทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องอื่นใดของผู้ต้องโทษปรับที่ไปปรากฏเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องโทษปรับที่เป็นนิติบุคคลนั้น โดยให้มีหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นดังกล่าว

ในกรณีที่ค่าปรับที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ยอมชำระเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย ก่อนดำเนินการตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับตามวรรคหนึ่ง พนักงานอัยการอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ก็ได้

สรุปสามารถถูกบังคับคดีได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments