แอบเปิดจดหมายของเพื่อนที่ทำงานผิดกฎหมายหรือไม่ ยอมความได้หรือไม่
หลายๆท่านไม่ทราบว่าการถูกแอบเปิดจดหมาย นั้นเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่ในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดาได้ค้นคว้าข้อกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกา จากการที่ได้รับคำปรึกษาในเรื่องดังกล่าว
หลักฎหมายที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ศาลเคยตัดสิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับจดหมายที่นายวัฒนา ภาวะไพบูลย์ ส่งมาให้นายศรยุทธ สุวรรณจำปา แล้วจำเลยได้เปิดผนึกซองจดหมายซึ่งเป็นของผู้อื่นออก โดยเจตนาล่วงรู้ข้อความภายในจดหมายนั้นอันเป็นความลับ แล้วจำเลยได้นำข้อความในจดหมายนั้นออกเปิดเผย โดยจำเลยไม่มีอำนาจกระทำได้ทำให้นายศรยุทธ สุวรรณจำปา กับนายวัฒนา ภาวะไพบูลย์ ได้รับความเสียหายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 322
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 322 จำคุก 1 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่าความผิดตามโจทก์ฟ้องเป็นความผิดอันยอมความได้ ตัวผู้เสียหายเองก็เบิกความรับว่าได้ตกลงยอมความกับจำเลยจริงตามเอกสารหมาย ล.1 มีข้อความสำคัญปรากฏชัดว่า “ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงถอนเรื่องนี้ ไม่ติดใจให้ดำเนินการสอบสวนต่อไปอีก และรับรองว่าจะอยู่ร่วมกันต่อไปด้วยความเห็นอกเห็นใจ และยึดมั่นในความสามัคคี จึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ” แล้วลงชื่อผู้เสียหาย ข้อความดังนี้ศาลฎีกาเห็นว่า เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจึงเป็นอันระงับไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน
สรุป ความผิดฐานเปิดเผยความลับซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายได้ตกลงยอมความกับจำเลยเป็นหนังสือไว้ในชั้นสอบสวน และในชั้นพิจารณาตัวผู้เสียหายเองก็เบิกความรับว่าได้ตกลงยอมความกับจำเลยจริง ดังนี้เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้องจึงเป็นอันระงับไปศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
สรุปสั้น มีความผิด แต่ยอมความได้
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th